สาเหตุของ hypoxemia หรือ desaturation
สาเหตุของ hypoxemia หรือ desaturation ได้แก่
1) ความเข้มข้นของออกซิเจนในบรรยากาศเบาบาง (Low FiO2)
เช่น ในที่สูงจะมีออกซิเจนเบาบางกว่าระดับน้ำทะเล
2) Alveolar hypoventilation
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยหายใจลดลง ทำให้ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าออกซิเจนในถุงลมปอด (PAO2 ) ลดลง ดังแสดงในสมการ alveolar gas equation
PB (barometric pressure) = ความดันบรรยากาศ
RQ (respiratory quotient) = ค่าคงที่ในสารอาหารแต่ละชนิด ค่าเฉลี่ยคือ 0.85
ในภาวะปกติเมื่อแรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง (PaCO2) เพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตรปรอทจะกระตุ้นการทำงานของ peripheral chemo-receptor ทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้น 2 ลิตรต่อนาที
แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยานอนหลับเกินขนาดหรือหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด ผลของยาระงับปวด ยาหย่อนกล้ามเนื้อและยาดมสลบยังไม่หมดฤทธิ์ทันที ฤทธิ์ของยาจะกดการหายใจ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ผู้ป่วยควรได้รับการโดยการเปิดทางเดินหายใจ ให้ออกซิเจนเสริมต่อจนรู้สึกตัวดีและสามารถกลับมาหายใจได้ตามปกติ
3) Ventilation/perfusion mismatch
ในภาวะปกติ ค่า V/Q ratio จะมีค่าใกล้เคียงกับ 1 หมายถึง
สัดส่วนของ ventilation (V) และ perfusion (Q) หรือเลือดที่มาเลี้ยงถุงลมจะมีปริมาณใกล้เคียงกัน เมื่อเกิดความไม่สมดุลกันของอากาศที่เข้าไปในถุงลมและเลือดที่ผ่านปอด ทำให้เกิดภาวะ
ขาดออกซิเจนได้พบในผู้ป่วยปอดอักเสบและภาวะปอดแฟบ
4) Diffusion defect มีความผิดปกติของการแพร่ของก๊าซผ่านผนังถุงลม เช่น ภาวะที่มีของเหลวหรือพังผืดในชั้น interstitial ของปอดโรคปอดบางชนิด ที่ทำให้มี fibrosis บริเวณ respiratorymembrane
5) Shunt effect คือ มีทางลัดของเลือด ทำให้เลือดไม่ได้สัมผัสพื้นผิวแลกเปลี่ยนก๊าซ
เครดิต พญ. อรุโณทัย ศิริอัศวกุล
1) ความเข้มข้นของออกซิเจนในบรรยากาศเบาบาง (Low FiO2)
เช่น ในที่สูงจะมีออกซิเจนเบาบางกว่าระดับน้ำทะเล
2) Alveolar hypoventilation
คือ ภาวะที่ผู้ป่วยหายใจลดลง ทำให้ค่าคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าออกซิเจนในถุงลมปอด (PAO2 ) ลดลง ดังแสดงในสมการ alveolar gas equation
PB (barometric pressure) = ความดันบรรยากาศ
RQ (respiratory quotient) = ค่าคงที่ในสารอาหารแต่ละชนิด ค่าเฉลี่ยคือ 0.85
ในภาวะปกติเมื่อแรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดง (PaCO2) เพิ่มขึ้น 1 มิลลิเมตรปรอทจะกระตุ้นการทำงานของ peripheral chemo-receptor ทำให้มีการหายใจเพิ่มขึ้น 2 ลิตรต่อนาที
แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยานอนหลับเกินขนาดหรือหลังจากเสร็จสิ้นการผ่าตัด ผลของยาระงับปวด ยาหย่อนกล้ามเนื้อและยาดมสลบยังไม่หมดฤทธิ์ทันที ฤทธิ์ของยาจะกดการหายใจ ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ผู้ป่วยควรได้รับการโดยการเปิดทางเดินหายใจ ให้ออกซิเจนเสริมต่อจนรู้สึกตัวดีและสามารถกลับมาหายใจได้ตามปกติ
3) Ventilation/perfusion mismatch
ในภาวะปกติ ค่า V/Q ratio จะมีค่าใกล้เคียงกับ 1 หมายถึง
สัดส่วนของ ventilation (V) และ perfusion (Q) หรือเลือดที่มาเลี้ยงถุงลมจะมีปริมาณใกล้เคียงกัน เมื่อเกิดความไม่สมดุลกันของอากาศที่เข้าไปในถุงลมและเลือดที่ผ่านปอด ทำให้เกิดภาวะ
ขาดออกซิเจนได้พบในผู้ป่วยปอดอักเสบและภาวะปอดแฟบ
4) Diffusion defect มีความผิดปกติของการแพร่ของก๊าซผ่านผนังถุงลม เช่น ภาวะที่มีของเหลวหรือพังผืดในชั้น interstitial ของปอดโรคปอดบางชนิด ที่ทำให้มี fibrosis บริเวณ respiratorymembrane
5) Shunt effect คือ มีทางลัดของเลือด ทำให้เลือดไม่ได้สัมผัสพื้นผิวแลกเปลี่ยนก๊าซ
เครดิต พญ. อรุโณทัย ศิริอัศวกุล
ความคิดเห็น