ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia, Hypoxemia)
ภาวะขาดออกซิเจน (Hypoxia, Hypoxemia)
Hypoxia หมายถึง ภาวะออกซิเจนต่ำใน compartment หนึ่งในร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อหรือถุงลมปอด (tissue or alveolar hypoxia) เป็นค่าที่มีความที่มีความจำเพาะน้อย
Tissue hypoxia หมายถึง ระดับออกซิเจนที่บริเวณเนื้อเยื่อมีค่าต่ำ ไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างพลังงานจาก Kreb’s cycle ตามปกติ จำเป็นต้องใช้ anaerobic metabolism แทน ทำให้เกิดภาวะ lactic
acidosis ได้
สาเหตุของ tissue hypoxia มีดังนี้
1. Hypoxemic hypoxia หมายถึง ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ในทางปฏิบัติ ภาวะ hypoxemia สามารถวัดได้จาก pulse oximeter โดยค่า PaO2 60 มิลลิเมตรปรอทจะเท่ากับ oxyhemoglobin saturation 90% โดยประมาณ
คำจำกัดความของ desaturation ได้แก่ oxygen saturation น้อยกว่า 90% มากกว่า 3 นาที หรือ oxygen saturation < 85% หลัง
ตรวจสอบแล้วว่า อุปกรณ์ไม่มีการเลื่อนหลุด ผู้ป่วยไม่มีอาการหนาวสั่นหรือตัวเย็น
รูปที่ 1 แสดง oxygen dissociation curve ในภาวะปกติ ค่า saturation ที่ 50% จะเท่ากับ PaO2 ประมาณ 27 mmHg (เส้นทึบกลางในรูปที่1) ภาวะเลือดเป็นกรด, อุณหภูมิกายสูง หรือ 2,3 DPG สูงขึ้น จะทำให้
ฮีโมโกลบินปล่อยออกซิเจนให้เนื้อเยื่อได้ง่ายขึ้น (เบี่ยงเบนไปทางขวา) ส่วนภาวะเลือดเป็นด่าง อุณหภูมิกายต่ำ หรือ 2,3 DPG ลดลงจะมีผลตรงกันข้าม
2. Anemic hypoxia เกิดจากการลดลงของ oxygen carrying capacity พบในภาวะซีด Carbonmonoxide poisoning และ abnormal hemoglobin
3. Stagnant hypoxia เกิดจากแรงดันเลือดที่น าออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เช่น peripheralvascular disease, low cardiac output states
4. Histotoxic hypoxia เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ตามปกติเนื่องจากมีความผิดปกติของ metabolism ของเซลล์ เช่น cyanide poisoning
เครดิต พญ. อรุโณทัย ศิริอัศวกุล
Hypoxia หมายถึง ภาวะออกซิเจนต่ำใน compartment หนึ่งในร่างกาย เช่น ในเนื้อเยื่อหรือถุงลมปอด (tissue or alveolar hypoxia) เป็นค่าที่มีความที่มีความจำเพาะน้อย
Tissue hypoxia หมายถึง ระดับออกซิเจนที่บริเวณเนื้อเยื่อมีค่าต่ำ ไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างพลังงานจาก Kreb’s cycle ตามปกติ จำเป็นต้องใช้ anaerobic metabolism แทน ทำให้เกิดภาวะ lactic
acidosis ได้
สาเหตุของ tissue hypoxia มีดังนี้
1. Hypoxemic hypoxia หมายถึง ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท ในทางปฏิบัติ ภาวะ hypoxemia สามารถวัดได้จาก pulse oximeter โดยค่า PaO2 60 มิลลิเมตรปรอทจะเท่ากับ oxyhemoglobin saturation 90% โดยประมาณ
คำจำกัดความของ desaturation ได้แก่ oxygen saturation น้อยกว่า 90% มากกว่า 3 นาที หรือ oxygen saturation < 85% หลัง
ตรวจสอบแล้วว่า อุปกรณ์ไม่มีการเลื่อนหลุด ผู้ป่วยไม่มีอาการหนาวสั่นหรือตัวเย็น
รูปที่ 1 แสดง oxygen dissociation curve ในภาวะปกติ ค่า saturation ที่ 50% จะเท่ากับ PaO2 ประมาณ 27 mmHg (เส้นทึบกลางในรูปที่1) ภาวะเลือดเป็นกรด, อุณหภูมิกายสูง หรือ 2,3 DPG สูงขึ้น จะทำให้
ฮีโมโกลบินปล่อยออกซิเจนให้เนื้อเยื่อได้ง่ายขึ้น (เบี่ยงเบนไปทางขวา) ส่วนภาวะเลือดเป็นด่าง อุณหภูมิกายต่ำ หรือ 2,3 DPG ลดลงจะมีผลตรงกันข้าม
2. Anemic hypoxia เกิดจากการลดลงของ oxygen carrying capacity พบในภาวะซีด Carbonmonoxide poisoning และ abnormal hemoglobin
3. Stagnant hypoxia เกิดจากแรงดันเลือดที่น าออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อไม่เพียงพอ เช่น peripheralvascular disease, low cardiac output states
4. Histotoxic hypoxia เซลล์ไม่สามารถใช้ออกซิเจนได้ตามปกติเนื่องจากมีความผิดปกติของ metabolism ของเซลล์ เช่น cyanide poisoning
เครดิต พญ. อรุโณทัย ศิริอัศวกุล
ความคิดเห็น