การดื่มแอลกอฮอล์กับหลอดเลือดหัวใจตีบ

การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากพบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันสูงขึ้น โดยกลไกที่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น ภาวะความดันเลือดสูง ภาวะไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ หรือแม้แต่การสูบบุหรี่ ซึ่งมักพบร่วมด้วยบ่อยๆในผู้ดื่มแอลกอฮอล์
ในทางกลับกันก็มีหลักฐานจํานวนมากที่แสดงถึงประโยชน์จากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อยจนถึงปานกลาง โดยทําให้อุบัติการณ์การเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์เลยประโยชน์ดังกล่าวพบได้ทั้งวัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งในเพศชายและหญิง และได้จากการดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไวน์ เบียร์ หรือสุรา
ถึงแม้ในบางการศึกษาจะแสดงผลที่ดีชัดเจนกว่าบ้างในการดื่มไวน์ก็ตาม
กลไกที่อธิบายผลดีของการดื่มแอลกอฮอล์ ต่อการลดลงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน พบว่ามีหลายอย่างเช่น ผลที่ทําให้ระดับ HDL cholesterol เพิ่มขึ้น มีระดับ Apolipoprotein A1 เพิ่มขึ้น ทําให้มีการลดลงของปัจจัยการแข็งตัวของเลือดต่างๆ ( coagulation factors ) ทั้งระดับ fibrinogen factor VII, Von-Willebrand factor ในเลือด
รวมทั้งหนืดตัวของเลือด plasma viscosity ลดลงด้วย นอกจากนี้ก็ยังทําให้ thrombolytic profile ดีขึ้นด้วย เช่นการเพิ่มของระดับ Tissue-type plasminogen activator antigen เป็นต้น
Cr พยาบาลข้างเตียง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1