ศพโควิด-19 ไม่ควรเก็บนานเกิน 1 วันจริงหรือ

ศพโควิด-19 ไม่ควรเก็บนานเกิน 1 วันจริงหรือ
ที่มา : ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

A : ยังไม่มีคำยืนยันแน่ชัดว่าเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะมีชีวิตอยู่ในศพของผู้เสียชีวิตจากเชื้อโควิด19 ได้นานเท่าใด แต่มีคำแนะนำจากทางการประเทศจีนว่าควรรีบนำร่างกายผู้เสียชีวิต บรรจุถุงหลาย ๆ ชั้น พร้อมปิดถุงให้มิดชิด และทำความสะอาดถุงบรรจุศพด้านนอกก่อนเคลื่อนย้ายศพ แล้วดำเนินการเผาทันที
เนื่องจากศพโควิด-19 อาจมีเชื้อติดตามผิวหนัง ช่องจมูก ช่องปาก รวมทั้งช่องทวาร
ดังนั้น ต้องไม่ทำการตกแต่งศพ หรือ ฉีดยารักษาสภาพศพเด็ดขาด เพราะผู้ดำเนินการดังกล่าวมีความเสี่ยงได้รับเชื้อจากการสัมผัสศพโดยตรง
การเก็บศพต้องไม่เก็บไว้นานเนื่องจากศพที่ไม่ได้ฉีดยารักษา จะเปลี่ยนสภาพ บวม หรือ ปริ ได้เร็ว หากถุงบรรจุศพป้องกันนั้น ฉีกขาดจะส่งผลให้เชื้อรั่วไหลได้

ประกอบพิธีศพตามหลักศาสนาอย่างไร ให้ปลอดภัยในสถานการณ์โควิด-19
ที่มา : ศ. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา

A : ศพผู้เสียชีวิตโควิด-19 ต้องบรรจุศพไว้ในถุงบรรจุตามมาตรฐาน แล้วดำเนินการเผา อย่างถูกวิธีโดยเร็วที่สุด หากญาติต้องการจัดพิธีกรรมตามหลักศาสนาควรยึดแนวปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ ดังนี้

• พระสงฆ์และสัปเหร่อ ห้ามทำการเปิดถุงบรรจุศพ อย่างเด็ดขาด
• ต้องหลีกเลี่ยงการทำพิธีที่มีการรวมกลุ่มคนร่วมกันเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นโอกาสให้มีการติดเชื้อในระหว่างที่มีการรวมกลุ่มเช่นนั้น
•แนะนำให้ทำพิธีสวดบำเพ็ญกุศลไปพร้อมกับพิธีฌาปนกิจ โดยจำกัดคนน้อยที่สุด
• ยึดหลัก Social distancing ป้องกันไม่ให้ติดเชื้อซ้ำซ้อน เนื่องจากผู้ติดเชื้อที่มาร่วมพิธี บางรายอาจยังไม่แสดงอาการ จึงสามารถแพร่เชื้อได้
• หากต้องการบำเพ็ญกุศลต่อเนื่อง ใช้รูปภาพแทนการตั้งศพ
• สำหรับศาสนาที่ต้องประกอบพิธีฝังศพ ควรอธิบายด้วยเหตุผลที่ต้องเผาแทนการฝังให้เร็วที่สุด
•ในกรณีที่ปฏิเสธการเผา นำศพฝังทั้งถุง โดยไม่มีการเปิดถุงบรรจุศพอย่างเด็ดขาด ในพื้นที่ที่จัดเตรียมเฉพาะเพื่อป้องกันการแพร่กระจายในพื้นที่ใกล้เคียงและปฎิบัติเสมือนในกรณีของเชื้ออีโบล่าหรือไข้หวัดนก


คำแนะนำ : สำหรับการจัดการศพโควิด-19 ในพื้นที่ที่ไม่สามารถจัดหาถุงบรรจุศพตามมาตรฐานได้ ให้ขอคำแนะนำที่สาธารณสุขจังหวัด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)