งูสวัดกับอัมพฤกษ์อัมพาต
เริ่มตั้งแต่ในปี 2014 ที่ได้เห็นรายงานในวารสาร โรคติดเชื้อทางคลินิก (clinical infectious disease) ถึงการติดตามคนไข้ที่เป็นงูสวัดและการเกิดมีเส้นเลือดในสมองผิดปกติเป็นอัมพฤกษ์ ในช่วงระหว่างปี 1987 ถึง 2012 จากจำนวน 6,584 ราย พบอัมพฤกษ์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภายในช่วงหกเดือนหลังจากที่เกิดงูสวัดแล้วค่อยๆลดลงเรื่อยๆในช่วงหกเดือนถัดมา ผู้ที่อยู่ในการติดตาม ส่วนใหญ่มีอายุ 70 ขึ้น ตำแหน่งที่ดูจะมีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับการเกิดอัมพฤกษ์จะเป็นงูสวัด ที่ขึ้นบริเวณหน้าและเข้าในลูกตา โดยจะเกิดอัมพฤกษ์สูงขึ้นถึงสามเท่าในช่วงเวลาห้าถึง 12 อาทิตย์ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ งูสวัดที่ขึ้นที่ตำแหน่งอื่นของร่างกายก็เพิ่มความเสี่ยงเช่นเดียวกัน การให้ยารักษาต้านงูสวัดมีผลในการลดความเสี่ยง ซึ่งต้องตอกย้ำว่าโรคงูสวัดไม่ใช่เป็นแค่โรคที่ระวังผิวไม่สวยงาม หรือกลัวเป็นแผลเป็นเลยใช้แต่ยาทา ยาสมุนไพรเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการที่ไวรัสสามารถบุกทะลุทะลวงย้อนกลับเข้าเส้นประสาทสู่เส้นเลือด หรือแม้แต่ทะลวงเข้าสู่ไขสันหลังและสมองและการที่ไม่ให้ยาต้านไวรัสจะทำให้มีการอักเสบอย่างต่อเนื่อง มีเจ็บแสบร้อนเป็นปีหรือตลอดชีวิต ต้องรักษาโดยการให้ยาแก้ปวดเส้นประสาทกันทุกวัน
สำหรับกลไกที่ทำให้เกิดอัมพฤกษ์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เช่น มีสารอักเสบกระจายทั่วร่างกาย แม้ว่างูสวัดจะเป็นที่ตำแหน่งเดียวก็ตาม และทำให้เกิดมีเลือดข้น รวมทั้งอาจทำให้ผิวที่ขรุขระของเส้นเลือดแตกหลุดออกหรือตีบตันมากขึ้น และจากการที่ไวรัสเคลื่อนตัวย้อนกลับทางเส้นประสาทไปหาเส้นเลือด ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดการตีบตัวโดยตรงของเส้นเลือดในตำแหน่งเดียวกัน ทั้งนี้ อธิบายในกรณีที่งูสวัดเกิดบริเวณหน้า หนังศีรษะ และคอ แต่ที่กล่าวทั้งหมดดูจะไม่อธิบายอัมพฤกษ์ที่เกิดขึ้นตามหลังเป็นหลายๆเดือน
จากรายงานนี้ทำให้หมอต้องให้คนไข้จำขึ้นใจว่า ถ้าเกิดอัมพฤกษ์ขึ้นเมื่อไหร่ ไม่ว่าจะเป็นชนิดตีบ ตัน หรือแตก ต้องบอกให้คุณหมอที่ห้องฉุกเฉินทราบว่าเป็นงูสวัดมาก่อน โดยที่อาจจะต้องรักษาทั้งอัมพฤกษ์และพิจารณารักษาด้วยยาต้านไวรัสไปพร้อมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลพินิจและการอธิบายให้คนไข้ทราบถึงหลักฐานที่ปรากฏ
หลังจากนั้นไม่นานหมอไปดูคนไข้ที่ห้องฉุกเฉิน ไปพบคนไข้เป็นอัมพฤกษ์ที่ก่อนหน้านั้นไม่กี่สัปดาห์มาหาด้วยงูสวัด และให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสแล้วด้วยซ้ำ เคราะห์ดีที่รักษาได้ทันโดยการให้ทั้งยาต้านไวรัสและรักษาด้วยยาสำหรับเส้นเลือดตีบทั้ง 2 อย่าง
จากปี 2014 จนกระทั่งถึง 2017 มีการศึกษาจากหลายกลุ่ม โดยให้ผลคล้ายคลึงกันว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพฤกษ์หลังจากที่เกิดงูสวัด เช่นในปี 2015 รายงานจากสหรัฐฯ (วารสาร Plos medicine) พบว่ามีการเกิดอัมพฤกษ์และเส้นเลือดหัวใจตีบตันหลังจากเป็นงูสวัดเพิ่มขึ้น 2.4 และ 1.7 เท่าตามลำดับในหนึ่งสัปดาห์แรก แล้วก็ค่อยๆลดลงจนถึงหลายๆเดือนต่อมา ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัดหรือไม่ ผู้ป่วยในการศึกษานี้อายุประมาณ 80 ปี
ในปี 2017 เป็นรายงานจากประเทศเกาหลี ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับคนไทยทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ระดับสุขภาพ แม้กระทั่งความเสี่ยงของโรคอัมพฤกษ์และโรคหัวใจ รายงานนี้รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลของคนเกาหลีภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ในช่วงระหว่างปี 2002 ถึง 2013 โดยวิเคราะห์จากประชากรจำนวน 570,000 ราย ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของคนเกาหลีทุกอายุ และทุกภาคของประเทศ จากนั้นระบุคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นงูสวัด อัมพฤกษ์และโรคหัวใจขาดเลือด และแยกการประเมินผลกระทบของงูสวัดที่มีต่อการเกิดโรคดังกล่าวโดยใช้วิธี propensity score-matched analysis จากจำนวนทั้งหมดมี 519,880 รายที่ได้รับการติดตามและวิเคราะห์ครบถ้วนในจำนวนนี้ พบว่า 23,223 ราย หรือ 4% เกิดงูสวัด และ 23,213 ราย สามารถนำมาทำการเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้เกิดอาการ
จากปี 2014 จนกระทั่งถึง 2017 มีการศึกษาจากหลายกลุ่ม โดยให้ผลคล้ายคลึงกันว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจและโรคอัมพฤกษ์หลังจากที่เกิดงูสวัด เช่นในปี 2015 รายงานจากสหรัฐฯ (วารสาร Plos medicine) พบว่ามีการเกิดอัมพฤกษ์และเส้นเลือดหัวใจตีบตันหลังจากเป็นงูสวัดเพิ่มขึ้น 2.4 และ 1.7 เท่าตามลำดับในหนึ่งสัปดาห์แรก แล้วก็ค่อยๆลดลงจนถึงหลายๆเดือนต่อมา ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัดหรือไม่ ผู้ป่วยในการศึกษานี้อายุประมาณ 80 ปี
ในปี 2017 เป็นรายงานจากประเทศเกาหลี ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับคนไทยทั้งในเรื่องของเชื้อชาติ ระดับสุขภาพ แม้กระทั่งความเสี่ยงของโรคอัมพฤกษ์และโรคหัวใจ รายงานนี้รวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากฐานข้อมูลของคนเกาหลีภายใต้ระบบประกันสุขภาพ ในช่วงระหว่างปี 2002 ถึง 2013 โดยวิเคราะห์จากประชากรจำนวน 570,000 ราย ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของคนเกาหลีทุกอายุ และทุกภาคของประเทศ จากนั้นระบุคนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นงูสวัด อัมพฤกษ์และโรคหัวใจขาดเลือด และแยกการประเมินผลกระทบของงูสวัดที่มีต่อการเกิดโรคดังกล่าวโดยใช้วิธี propensity score-matched analysis จากจำนวนทั้งหมดมี 519,880 รายที่ได้รับการติดตามและวิเคราะห์ครบถ้วนในจำนวนนี้ พบว่า 23,223 ราย หรือ 4% เกิดงูสวัด และ 23,213 ราย สามารถนำมาทำการเปรียบเทียบกับคนที่ไม่ได้เกิดอาการ
เมื่อดูข้อมูลตามปกติ เผินๆจะมีสตรีเป็นงูสวัดมากกว่า โดยที่มีความเสี่ยงในการเกิดอัมพฤกษ์และโรคหัวใจขาดเลือด เช่น อายุมาก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันผิดปกติ มีอาการเจ็บหน้าอก มีโรคของเส้นเลือดไปยังขาตีบผิดปกติ มีโรคของกระดูกและข้อ รวมทั้งมีมะเร็งร่วมด้วย แต่พบว่ากลุ่มที่เกิดงูสวัดมีการรักษาสุขภาพตัวเองดีกว่า เช่น สูบบุหรี่และดื่มสุราน้อยกว่า มีการออกกำลังสม่ำเสมอ และมีเศรษฐานะที่ดีกว่า
แต่เมื่อทำการวิเคราะห์โดยการปรับความแตกต่างทั้งหลายดังวิธีข้างต้น กลับพบว่าความเสี่ยงในการเกิดอัมพฤกษ์และโรคหัวใจกลับพบสูงสุดในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 40 และมิหนำซ้ำยังมีปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดตีบน้อยมาก ในส่วนของระยะเวลาที่จะเกิดโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ กลับพบว่าทอดยาวมากกว่ารายงานที่มีก่อนหน้า โดยพบว่าความเสี่ยงจะคงอยู่ในช่วงหนึ่งปีแรกหลังจากการเกิดงูสวัดและค่อยๆลดน้อยลง
สมมติฐานที่คณะผู้วิจัยเกาหลีตั้งขึ้นคือ การที่ไวรัสงูสวัดมีการปลุกให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นพักๆต่อเนื่องหลังจากที่ทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังแล้ว ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่จะตรวจพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำลาย หรือตรวจพบทีเซลล์ (T cell) ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับไวรัสงูสวัดสูงขึ้นในเลือด และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็จะสามารถระบุได้ว่าใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและอัมพฤกษ์หลังจากที่เกิดงูสวัดที่ผิวหนังแล้ว
งูสวัด (herpes zoster) แท้จริงก็คือ ไวรัสสุกใส (varicella) ที่ชอบเป็นกันตั้งแต่เด็ก ซึ่งเมื่อเป็นแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อตัวไวรัส แต่ไวรัสจะฉลาดและหลบเข้าไปอยู่ในปมประสาทและเมื่อร่างกายอ่อนแอ เช่น สูงวัยขึ้นและการที่มีภูมิอ่อนแอลง ตัวไวรัสในปมประสาทจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นและเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดปมประสาทอักเสบและไวรัสเคลื่อนตัวตามเส้นประสาทมายังผิวหนังปรากฏผื่น ตุ่มน้ำเป็นกระจุกตามแนวทางของเส้นประสาทที่รับความรู้สึกของร่างกาย และเกิดเจ็บแสบปวดร้อน อย่างไรก็ดี อาจมีได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการแสบร้อนโดยไม่เห็นผื่นที่ผิวหนัง และบ่อยครั้งที่ไวรัสเคลื่อนตัวเข้าไขสันหลัง สมองผ่านทางเส้นเลือดโดยที่จะมีหรือไม่มีผื่นที่ผิวหนังก็ตาม
วัคซีนกันสุกใสในเด็กจะเป็นชนิดเดียวกันกับวัคซีนกันงูสวัด แต่ปริมาณของยาในแบบหลังจะสูงกว่าในผู้ใหญ่ วัคซีนกันงูสวัดมีข้อมูลว่าใช้ได้ประโยชน์สูงสุดในระหว่างอายุ 60 ถึง 70 ปี โดยไม่จำกัดว่าเคยเป็นสุกใสมาก่อนหรือไม่ สามารถป้องกันโดยรวมได้ประมาณ 50% (อายุระหว่าง 60 ถึง 70 ปีป้องกันได้ 64% และถ้าอายุมากกว่า 70 ปีจะป้องกันได้ 38%) ถ้าเป็นงูสวัดจะลดอาการปวดได้ประมาณ 70%
เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ดังนั้นจะมีข้อห้ามก่อนฉีดต้องปรึกษาและให้รายละเอียดกับหมอก่อน.
แต่เมื่อทำการวิเคราะห์โดยการปรับความแตกต่างทั้งหลายดังวิธีข้างต้น กลับพบว่าความเสี่ยงในการเกิดอัมพฤกษ์และโรคหัวใจกลับพบสูงสุดในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า 40 และมิหนำซ้ำยังมีปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดตีบน้อยมาก ในส่วนของระยะเวลาที่จะเกิดโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ กลับพบว่าทอดยาวมากกว่ารายงานที่มีก่อนหน้า โดยพบว่าความเสี่ยงจะคงอยู่ในช่วงหนึ่งปีแรกหลังจากการเกิดงูสวัดและค่อยๆลดน้อยลง
สมมติฐานที่คณะผู้วิจัยเกาหลีตั้งขึ้นคือ การที่ไวรัสงูสวัดมีการปลุกให้ตื่นอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นพักๆต่อเนื่องหลังจากที่ทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังแล้ว ดังนั้นอาจเป็นไปได้ที่จะตรวจพบดีเอ็นเอของไวรัสในน้ำลาย หรือตรวจพบทีเซลล์ (T cell) ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับไวรัสงูสวัดสูงขึ้นในเลือด และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงก็จะสามารถระบุได้ว่าใครมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและอัมพฤกษ์หลังจากที่เกิดงูสวัดที่ผิวหนังแล้ว
งูสวัด (herpes zoster) แท้จริงก็คือ ไวรัสสุกใส (varicella) ที่ชอบเป็นกันตั้งแต่เด็ก ซึ่งเมื่อเป็นแล้วก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อตัวไวรัส แต่ไวรัสจะฉลาดและหลบเข้าไปอยู่ในปมประสาทและเมื่อร่างกายอ่อนแอ เช่น สูงวัยขึ้นและการที่มีภูมิอ่อนแอลง ตัวไวรัสในปมประสาทจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้นและเพิ่มจำนวนจนทำให้เกิดปมประสาทอักเสบและไวรัสเคลื่อนตัวตามเส้นประสาทมายังผิวหนังปรากฏผื่น ตุ่มน้ำเป็นกระจุกตามแนวทางของเส้นประสาทที่รับความรู้สึกของร่างกาย และเกิดเจ็บแสบปวดร้อน อย่างไรก็ดี อาจมีได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการแสบร้อนโดยไม่เห็นผื่นที่ผิวหนัง และบ่อยครั้งที่ไวรัสเคลื่อนตัวเข้าไขสันหลัง สมองผ่านทางเส้นเลือดโดยที่จะมีหรือไม่มีผื่นที่ผิวหนังก็ตาม
วัคซีนกันสุกใสในเด็กจะเป็นชนิดเดียวกันกับวัคซีนกันงูสวัด แต่ปริมาณของยาในแบบหลังจะสูงกว่าในผู้ใหญ่ วัคซีนกันงูสวัดมีข้อมูลว่าใช้ได้ประโยชน์สูงสุดในระหว่างอายุ 60 ถึง 70 ปี โดยไม่จำกัดว่าเคยเป็นสุกใสมาก่อนหรือไม่ สามารถป้องกันโดยรวมได้ประมาณ 50% (อายุระหว่าง 60 ถึง 70 ปีป้องกันได้ 64% และถ้าอายุมากกว่า 70 ปีจะป้องกันได้ 38%) ถ้าเป็นงูสวัดจะลดอาการปวดได้ประมาณ 70%
เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น ดังนั้นจะมีข้อห้ามก่อนฉีดต้องปรึกษาและให้รายละเอียดกับหมอก่อน.
ความคิดเห็น