การใส่สายยาง Nasogastric intubation
Nasogastric intubation
Nasogastric intubation หมายถึง การใส่สายยางเข้าไปในกระเพาะอาหาร โดยผ่านเข้าทางรูจมุก ไปสู่หลอดอาหาร จนถึงกระเพาะอาหาร ซึ่งทำโดยแพทย์หรือพยาบาล
วัตถุประสงค์ในการใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหาร
- เพื่อให้อาหารและยาแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานได้ทางปาก
- เพื่อดูดหรือระบาย น้ำย่อย และก๊าซออกจากกระเพาะอาหาร ลดอาการแน่นท้อง (gastric suction)
- เพื่อดูดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารออกมาตรวจ (gastric analysis)
- เพื่อใส่สารละลายในการล้างกระเพาะอาหารในผู้ป่วยที่รับประทานสารพิษ หรือยาเกินขนาด ( Gastric lavage/Irrigation)
- เพื่อหยุดการออกของเลือดในกระเพาะอาหารโดยการ cool normal saline Irrigation
การใส่สายข้าไปในกระเพาะอาหารสามารถใส่ผ่านเข้าไปได้หลายทาง ดังต่อไปนี้
- Orogastric intubtion เป็นการใส่สายเข้าทางปาก ผ่านหลอดอาหารถึงกระเพาะอาหาร
- Nasogstric intubtion (NG tube) เป็นการใส่สายเข้าทางรูจมูก ผ่านหลอดอาหาร ถึงกระเพาะอาหาร
- Nasojejunal tube เป็นการใส่สายเข้าทางรูจมูก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วน jejunum
- Gastrostomy tube เป็นการใส่สายให้อาหารผ่านทางผนังหน้าท้อง เข้าไปในกระเพาะอาหาร
- Jejunostomy tube เป็นการใส่สายให้อาหารผ่านทางผนังหน้าท้อง เข้าไปในลำไส้เล็กส่วน jejunum
การเตรียมผู้ป่วย
การใส่สายเข้าไปในกระเพาะอาหารผ่านทางจมูกก่อนใส่จะต้องถึงวัตถุประสงค์ของการใส่และวิธีการใส่ให้ผู้ป่วยรับทราบและเข้าใจ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามในกรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีเพื่อความร่วมมือขณะใส่สายและลดความวิตกกังวล
การวัดความยาวของสาย NG tube
ก่อนใส่สายจะต้องวัดความยาวของสายที่จะใส่เพื่อให้ปลายสายอยู่ที่กระเพาะอาหารพอดี ไม่สั้นหรือยาวเกินไป โดยวัดจากปลายจมูกถึงติ่งหูถึงลิ้นปี่ (Xiphoid process)
อุปกรณ์เครื่องใช้ในการใส่สาย
- สายที่ใส่ทางจมูกหรือทางปาก ( Nasogastric tube หรือ NG tube) ทำด้วยสายโพลีเอทิลีน(Polyethylene) หรือซิลิโคน (Silicone) ขนาด 12-18 French
- Luer-Lok syringe หรือ syringe feed ขนาด 50-60 cc
- ชามรูปไต ขนาดใหญ่ 1 ใบ
- สารหล่อลื่นชนิดละลายน้ำได้ (water soluble lubricant) เช่น K-Y jelly หรือ xylocain jelly
- Stethoscope
- พลาสเตอร์
- ถุงมือ dispossable
- เตรียมอุปกรณ์ในการใส่สายให้พร้อม สำหรับผู้ที่ถนัดขวา เข้าทางด้านขวาของผู้ป่วย ส่วนผู้ที่ถนัดซ้ายให้เข้าทางซ้ายของผู้ป่วย
- บอกให้ผู้ป่วยทราบ และบอกวัตถุประสงค์
- จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนในท่านอนหงาย ศีรษะสูง ( High Fowler's position)
- ประเมินสภาพผู้ป่วยโดยการตรวจดูรูจมูกที่จะใส่สายว่ามีสิ่งอุดตัน หรือมีความผิดปกติของ หรือไม่ ถ้ามีให้หลีกเลี่ยง
- สวมถุงมือ
- วัดความยาวของสาย NG tube ที่จะใส่จากปลายจมูกถึงติ่งหู และจากติ่งหูจนถึงลิ้นปี่ ( Xiphoid process) ทำเครื่องหมายหรือติดพลาสเตอร์ไว้
- ดัดปลายสาย NG tube ให้โค้งงอประมาณ 4- 6 นิ้ว เพื่อให้ง่ายต่อการใส่สายขณะผ่าน จากรูจมูกเข้าไปในหลอดอาหาร
- หล่อลื่นปลายสาย NG tube ด้วย K-Y jelly หรือ xylocain jelly ยาวประมาณ 4 นิ้ว นับจากปลายสายด้านที่จะใส่เข้าไปในจมูกผู้ป่วย
- สอดปลายสาย NG tube เข้าทางรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งที่เตรียมไว้ อย่างเบามือ
- แล้วประมาณว่าปลายสายถึงคอหอย (ผู้ใส่จะรู้สึกว่าปลายสายไปชนอะไรบางอย่าง และดันสายไม่เข้า) ก็ให้บอกผู้ป่วยช่วยกลืนน้ำลาย พร้อมกับผู้ใส่ดันสาย NG tube เบาๆ จนถึงตำแหน่งที่ทำเครื่องหมายไว้ถ้าผู้ป่วยมีอาการไอ หรือสำลัก ให้หยุดใส่และดึงสายออกก่อน เพราะปลายสายอาจจะเข้าไปในหลอดลมได้ และให้เริ่มต้นใหม่
- ติดยึดสาย NG tube ไว้กับข้างแก้มชั่วคราว
- ตรวจสอบปลายสายว่าเข้าไปในกระเพาะอาหารโดย ให้ผู้ป่วยอ้าปากดูว่า มีสายขดม้วนอยู่ในปากหรือไม่
- ตรวจสอบโดยใช้หูฟัง (Stethoscope) ฟังที่บริเวณลิ้นปี่ของผู้ป่วย โดยใช้ syringe feed ดันลมประมาณ 10-30 มล. ผ่านสาย NG tube เร็วๆ จะได้ยินเสียง แสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร
- ติดพลาสเตอร์ยึดสาย NG tube กับสันจมูก ระวังอย่าให้แน่นเกินไป เพราะอาจจะเกิดแผลกดทับได้
- จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูงเล็กน้อย
- เก็บอุปกรณ์และบันทึกลงในบันทึกทางการพยาบาล
การตรวจสอบปลายสายให้อาหาร
เป็นสิ่งสำคัญที่พยาบาลจะต้องปฏิบัติก่อนให้อาหารทุกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าปลายสายอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากการที่ปลายสายให้อาหารเลื่อนออกมานอกกระเพาะอาหาร ( tube displacement) วิธีการปฏิบัติ
- ทดสอบด้วยการดูดดูสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร (gastric residual) ถ้าได้สิ่งตกค้างจากกระเพาะอาหารแสดงว่าปลายสายอยู่ในกระเพาะอาหาร ถ้าไม่ได้สิ่งตกค้างจะต้องปฏิบัติวิธี ที่ 2 ต่อไป
- ฟังเสียงลมผ่านปลายสายให้อาหาร โดยใช้ Syringe Feed ดันลมเข้าไปประมาณ 15-20 มล. ในผู้ใหญ่ และในเด็ก 3-5 มล. พร้อมกับฟังด้วย Stethoscope บริเวณ Xiphoid process
การดูแลรักษาสายยางให้อาหาร
- เปลี่ยนพลาสเตอร์ที่ติดสายยางกับจมูกทุก 2 – 3 วัน หรือเมื่อหลุด หรือเมื่อเปรอะเปื้อน
- ทำความสะอาดรูจมูก และรอบจมูกด้วยไม้พันสำลี หรือผ้าชุบน้ำ
- ระวังสายยางเลื่อนหลุด ควรทำเครื่องหมายไว้เป็นจุดสังเกตด้วย
ความคิดเห็น