จิตตปัญญาศึกษา

จิตตปัญญาศึกษา

ฐานิกา บุษมงคล

1.จิตตปัญญาศึกษา   คือ การศึกษาที่ทำให้เข้าใจด้านในของตัวเอง รู้ตัว เข้าถึงความจริง ทำให้เปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดความเป็นอิสระ ความสุข ปัญญา และความรักอันไพศาลต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสิ่ง หรืออีกนัยหนึ่ง เกิดความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยเน้นการศึกษาจากการปฏิบัติ เช่น จากการทำงานศิลปะ โยคะ ความเป็นชุมชน การเป็นอาสาสมัครเพื่อสังคม สุนทรียสนทนา การเรียนรู้จากธรรมชาติ และจิตตภาวนา เป็นต้น  (ศาสตราจารย์ประเวศ วะสี)



2.สังเขปแนวคิดจิตปัญญาศึกษา


3.จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์

การเข้าถึงความจริงแท้หรือสัจธรรม คือเป้าหมายในชีวิตของ “มนุษย์” ที่ยึดมั่นอยู่ในศาสนธรรมของตนบนโลกนี้ยึดถือการปฏิบัติมาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม กระแสของทุนนิยมมีความเชี่ยวกราดกว่ากระแสธรรม โลกจึงต้องพบกับความหายนะอย่างเช่นที่เป็นอยู่นี้ เพราะ “คน” บนโลกต่างพากันยึดเอาทุนนิยมที่ดำรงสภาพอยู่ได้ด้วยหิวกระหายในการบริโภคมาเป็นตัวตั้งความสุขที่เกิดจากการได้เสพ จึงเป็นจึงเป็นความสุขเดียวที่คนในยุคนี้รู้จัก



ส่วนความสุขที่เกิดขึ้นจากการไม่ปรุงแต่ง ที่ผุดขึ้นมาเอง เมื่อจิตอยู่ในภาวะปกติ เป็นความสุขที่ไม่ต้องอาศัยสิ่งเร้า และเป็นสื่อที่จะพาเราลัดตรงเข้าพบสัจธรรมที่ปรากฏอยู่ข้างในตนของมนุษย์ทุกคนอยู่แล้ว กลับกลายเป็นความสุขที่น้อยคนนักจะรู้จักและเข้าถึง


จิตตปัญญาศึกษาจึงเกิดขึ้นมาเพื่อเชื้อเชิญให้คนในยุคสมัยได้เข้าไปสัมผัสกับการเข้าถึงสิ่งสูงสุด หรือการเข้าถึงความจริง ความดี ความงาม เพื่อไปพบกับอิสรภาพ ความสุข และความรักอันไพศาล ที่พ้นไปจากการยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางด้วย การเจริญสิตในรูปแบบต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้น ซึ่งคนในยุคนี้ห่างไกลจากการเข้าถึงความจริง ความดี ความงามจนอาจกล่าวได้ว่าเป็นเรื่องที่ต้องการ “การปฏิวัติจิตสำนึก (Consciousness Revolution)” เลยทีเดียว


4.จิตตปัญญาพฤกษา (Contemplative Education Tree)




องค์ประกอบของโมเดลนี้มีส่วนสำคัญ 8 ประการซึ่งสื่อถึงองคาพยพของต้นไม้ ได้แก่ 1. ราก คือที่มาและพัฒนาการของจิตตปัญญาศึกษานั้นอยู่ฐานแนวคิดเชิงศาสนา เชิงมนุษยนิยมและเชิงบูรณาการองค์รวม 2. ผล คือเป้าหมายการเรียนรู้สู่จิตใหญ่ที่กว้างขวางครอบคลุมและเชื่อมโยงถึงความ จริงของสรรพสิ่ง 3. แก่น เป็นกระแสแห่งการพัฒนาสู่จิตใหญ่ ประกอบด้วย การมีสติเปิดรับประสบการณ์ตรงในปัจจุบันขณะอย่างเต็มเปี่ยม การสืบค้นกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะกับตน การน้อมมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจริงจัง ความเบิกบานและผ่อนคลาย และการมีจิตตั้งมั่นและเป็นกลาง 4. กระพี้ เป็นบริบทของการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชุมชมหรือสังฆะสนับสนุน และการกลมกลืนกับวัฒนธรรม 5. เปลือก เป็นเครื่องมือและการปฏิบัติรูปแบบต่างๆ 6. เมล็ด เป็นศักยภาพการเรียนรู้ภายในมนุษย์ 7. ผืนดิน เป็นวงการต่างๆ ที่จะนำจิตตปัญญาศึกษาไปประยุกต์ใช้ และ 8. การปลูกและดูแล เป็นกระบวนการพัฒนาและทบทวนความรู้ ประกอบด้วยวิธีวิทยาการวิจัย และการประเมิน


5.จิตตปัญญาศึกษา: รุ่งอรุณแห่งจิตสำนึกใหม่ทางการศึกษา

พัฒนาการด้านเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ การแผ่ขยายของระบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยม ประชาธิปไตยที่ไร้จิตวิญญาณ ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นลดถอย หายไป นอกจากนั้นยังเกิดปัญหามลภาวะ ระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมลง อันเนื่องมาจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยระบบเศรษฐกิจเสรีทุนนิยม ฉกฉวยและนำทรัพยากรทางธรรมชาติไปใช้อย่างไร้ขีดจำกัดภายใต้การกระตุ้นของระบบการค้าเสรี และข้อตกลงระหว่างประเทศรูปแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงสุด นำไปสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากมายบนทิศทางการ “พัฒนา” ตามแบบอย่างของตะวันตก


คำถามที่น่าสนใจคือ แล้วมนุษย์ และโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีทิศทางการพัฒนาไปในรูปแบบใด มนุษย์และโดยเฉพาะคนไทยจึงจะมีความสุข วัฒนธรรมที่ดีงามของไทยจึงจะยังคงดำรงอยู่เป็นมรดกของคนไทยและมวลมนุษยชาติ

การพัฒนาที่ดำเนินไป ดูเหมือนจะทำให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น มีความสะดวกสบายมากขึ้น และดูเหมือนมนุษย์จะ มีการ “พัฒนา” แบบก้าวกระโดดมากขึ้น

แต่โลกก็เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยการแข่งขัน ชิงดีชิงเด่น เต็มไปด้วยสงครามในรูปแบบต่างๆ เต็มไปด้วยวิกฤติ

ทำไมยิ่งพัฒนา ยิ่งมีความทุกข์ ยิ่งมีความขัดแย้ง ยิ่งมีความเครียด อยู่ร้อนนอนทุกข์

ทำไมการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม และการเมืองที่ดำเนินอยู่ จึงไม่สามารถทำให้คนมีความสุข มีความรัก ความเมตตา ไม่สามารถทำให้สังคมเข้มแข็ง อยู่เย็นเป็นสุข ไม่สามารถทำให้สภาพแวดล้อม และธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ขึ้น และที่สำคัญ ไม่สามารถทำให้โลกมีสันติภาพได้

หรือเราต้องหยุดคิด เพื่อพิจารณาอย่างจริงจัง อย่างมีสติและปัญญา เกี่ยวกับทิศทางและเป้าหมายของการพัฒนาที่ไหลไปตามกระแสอย่างขาดสติกันใหม่

6.  จิตตปัญญากับวิกฤต

การเปลี่ยนแปลงวิกฤตคนให้ไปสู่วิถีแห่งความดีงาม เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องช่วยกันแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของประชาชน ที่จะไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ต้องตั้งสติให้ดี ช่วยผู้อื่นเปลี่ยนแปลงความทุกข์ให้เป็นความสุขที่แท้ด้วยจิตใจและปัญญา ส่งเสริมให้บุตรหลานเรียนรู้ และเป็นผู้นำในเรื่องจิตตปัญญา แม้จะเป็นเรื่องที่ยากในวันนี้ แต่ผู้เขียนเชื่อว่ามนุษย์เราจะไม่พ่ายแพ้ต่อความยากลำบาก ถึงกับจะต้องหันหน้าเข้าสู่ความมักง่าย ที่จะแก้ปัญหาด้วยการด่าทอกัน ทำร้ายกัน และทำให้ผู้อื่นขาดสติกันไปทั้งหมด

7.จิตตปัญญาศึกษา หรือการศึกษาติดดี?
ความคาดหวังแม้จะเป็นความคาดหวังในด้านดี ก็ถือเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเรียนรู้ ด้วยเหตุผลที่ว่า เมื่อทวินิยมแห่งกฎเกณฑ์ มาตรฐาน การวัดผลดีชั่วถูกผิด ได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเสียแล้ว ผลก็คือ ประสบการณ์จะถูกเจือปนไปด้วยบทสรุปล่วงหน้าเหล่านั้น จนผู้เรียนไม่สามารถเชื่อใจในสิ่งที่ตนเองประสบมาได้อีกต่อไป เมื่อนั้นความกลัวจะแทรกตัวเข้ามาแทนที่ กลายเป็นการเลือกที่จะฟังเสียงภายนอกแทนเสียงแห่งคุณค่าภายใน จากนั้นจึงหันไปยึดมั่นต่อการเรียนรู้ถูกผิด การตัดสินลงโทษ การสร้างความรู้สึกละอายที่ฝังรากลึก จนกลายเป็นตราบาป ผูกมัดเป็นปมด้อยภายในอันไร้ทางแก้


ในช่วงไม่กี่ศตวรรษที่ผ่านมา อิทธิพลของความเชื่อเรื่องบาปติดตัว (Original Sin) ที่ฝังรากลึกอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกนั้น ได้เข้ามามีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมพุทธในบ้านเรามากเหลือเกิน การตัดสินผู้อื่นอย่างเสียๆ หายๆ จากสิ่งละอันพันละน้อยที่เขาได้กระทำในอดีต อย่างที่ไม่รู้จักความหมายของการให้โอกาส หรือให้อภัยด้วยจิตใจที่เป็นกลาง ดูจะกลายเป็นลักษณะนิสัยที่มีอยู่ในตัวคนไทยอย่างที่ไม่มีใครรู้ตัว ทั้งนี้ยังไม่รวมนิสัยการชอบนินทา ว่าผู้อื่นเสียๆ หายๆ ลับหลัง ฯลฯ แม้แต่การนำความคาดหวังทางศีลธรรมจริยธรรมมาตัดสินคุณค่าผู้อื่น เช่น คนกินเหล้าสูบบุหรี่เป็นคนเลวไม่น่าคบ ท้องก่อนแต่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องประจาน เด็กที่ไม่มีสัมมาคารวะ เถียงผู้ใหญ่เป็นเด็กดื้อไม่น่ารัก ฯลฯ คุก เรือนจำ และทัณฑสถาน ก็กลายเป็นสถานที่รวมเหล่าสัตว์เดรัจฉานชั่วช้า คนบ้าวิกลจริตกลายเป็นพวกน่ารังเกียจ หญิงค้าประเวณีเป็นกาลกิณีของสังคม และอีกมากมายที่เรียงรายเต็มหน้าหนังสือพิมพ์



8. เพื่อนที่หายไปใน facebook

โลกเรากำลังต้องการการปฏิรูป/ปฏิวัติที่ใหญ่ที่สุด คือ การปฏิวัติจิตสำนึก (Consciousness Revolution) ซึ่งเป็นทางออกเดียวของมนุษยชาติ และช่องทางหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้ก็คือ การหวนกลับมาเยียวยา ฟื้นฟู และดูแลความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดของเราเอง


ไม่ว่าเราจะฝึกปฏิบัติเจริญสติหรือทำงานเสียสละแก่ส่วนรวมเพื่อลดละอัตตาอย่างไรก็ตาม ในชีวิตจริงๆ เราก็ยังจะอดหัวเสีย เครียดและจี๊ดได้ง่ายๆ และบ่อยๆ ก็เพราะคนใกล้ตัวนี่เอง ไม่ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหน หลายครั้งโจทย์ที่ยากยิ่งในชีวิตของเราก็กลับเป็นคนที่เรารักหรือคนที่รักเราอย่างยิ่ง บ้างก็เป็นพ่อแม่ของเราเอง บ้างก็เป็นคู่ที่เราเลือกมาเอง หรือลูกที่เราเลี้ยงมาเองกับมือ แต่ถึงกระนั้นคนที่เราเลือก คนที่เราเลี้ยงมา ก็ยังไม่วายทำให้เราหัวเสียได้ทั้งวัน และนอกจากในบ้าน เราก็ยังพบว่ามันเกิดขึ้นง่ายและบ่อยครั้งมากกับคนที่ทำงานด้วย

เราอาจอดทนกับกริยาท่าทางของคนแปลกหน้าได้นาน แต่แค่คนในครอบครัวพูดอะไรไม่เข้าหูแค่คำเดียวก็อาจทำให้เราโมโหหรือเสียใจไปครึ่งค่อนวันได้

คำพูดสวยหรูที่ว่า “ดูแลคนใกล้ชิดดั่งอาคันตุกะ” จึงเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสิ่งหนึ่งในชีวิต ในยามปรกติก็ว่าดูแลยากแล้ว ในยามที่เราเกิดอาการเซ็งกับสิ่งที่คนเหล่านี้ทำ พูด หรือเป็น การดูแลคนใกล้ชิดที่ว่านี้ยิ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลย

แต่ความสัมพันธ์กับคนที่รักเรา กับคนที่เรารัก กับคนในครอบครัว ความสัมพันธ์ใกล้ตัวเราที่ว่ายากและถูกละเลยมองข้ามเหล่านี้เอง หากได้รับการเยียวยาและหล่อเลี้ยงจึงจะกลับกลายเป็นพลังและเป็นประตูที่พาเราไปสู่ชีวิตที่เต็มพร้อม ให้เราได้มีชีวิตที่ไม่เพียงแต่ “อยู่รอด” แต่ยัง “อยู่ร่วม” และ “อยู่อย่างมีความหมาย” ด้วย

9.จิตปัญญาศึกษา(Contemplative Education)
มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกเช่น ฮาร์เวิร์ด โคลัมเบีย แมสซาชูเซตส์ ฯลฯ ได้นำเรื่องของจิตตปัญญาศึกษาบรรจุเข้าไปในหลักสูตรในสาขาวิชาต่างๆ แล้ว รวมทั้งสถาบัน The Center for Contemplative Mind in Society ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของศาสตราจารย์ชื่อดังจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้นำเรื่องเหล่านี้ไปใช้ประกอบในการเรียนการสอนและการอบรมทางวิชาการอย่างเป็นระบบ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1