การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
วัตถุประสงค์ของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1.รักษาภาวะสมดุลของน้ำและสารน้ำในร่างกาย
2.ให้สารอาหาร วิตามิน และเป็นแหล่งพลังงานแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้
3.รักษาภาวะสมดุลของความเป็นกรด-ด่างในร่างกาย
4.รักษาภาวะสมดุลและปริมาตรของเลือดและส่วนประกอบของเลือด
5.ให้ยาฉีดบางชนิดเข้าทางหลอดเลือดดำ
ชนิดของสารน้ำ
สารน้ำที่ให้ทางหลอดเลือดดำทุกชนิด ประกอบด้าน ตัวถูกละลาย รวมทั้งอิเล็กโตไรต์ หรือส่วนประกอบที่ไม่ใช่ไอออน เช่น ยูเรีย กลูโคส แบ่งออกตามความเข็มข้นได้ 3 ชนิดดังนี้
1. สารละลายไอโซโทนิก ( isotonic solution ) จะมีความเข้มข้นเท่ากันน้ำนอกเซลล์(extracellular fluid)ซึ่งมีออสโมลาริตี้ระหว่าง 280-310 m0sm/l เมื่อให้ทางหลอดเลือดดำจะไม่มีการเคลื่อนที่ของน้ำ เข้าหรือออกจากเซลล์ ฉะนั้นการให้สารน้ำชนิด isotonic จึงช่วยเพิ่มปริมาตรของน้ำที่อยู่นอกเซลล์
2. สารละลายไฮโปโทนิก( hypotonic solution ) ออสโมลาริตี้ น้อยกว่า 280 m0sm/l ซึ่งค่า osmolarityน้อยกว่าน้ำนอกเซลล์ เป็นสารน้ำที่มีโมเลกุลอิสระของน้ำมากกว่าในเซลล์ จึงทำให้เกิดการเคลื่อนของน้ำเข้าสู่เซลล์ ฉะนั้นการให้สารน้ำชนิดนี้ต้องให้อย่างช้าๆ เพื่อป้องการลบกวนของเซลล์
3. สารละลายไฮเปอร์โทนิก( hypertonic solution ) เป็นสารน้ำที่มีค่าออสโมลาริตี้ มากกว่า 310 m0sm/l ซึ่งมีมากกว่าออสโมลาริตี้ของน้ำนอกเซลล์ สารน้ำอันนี้มีโมเลกุลอิสระของน้ำน้อยกว่าน้ำในเซลล์ และจะทำให้เกิดการดึงน้ำจากเซลล์สู่ระบบการไหลเวียน
ชนิดของการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1. การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย (Peripheral intravenous infusion)
เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทางหลอดเลือดดำที่อยู่ในชั้นตื้นๆของผิวหนังหรือหลอดเลือดดำที่อยู่ในสวนปลายของแขนและขา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องงดอาหารและน้ำดื่มเพื่อเตรียมผ่าตัด ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำ โดยเฉพาะการให้ยาที่ผสมเจือจางและหยดเข้าทางหลอดเลือดดำช้าๆ รวมทั้งการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
2. การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ (Central venous therapy) เป็นการให้สารน้ำหรือของเหลวทาง central line ทางหลอดเลือดดำใหญ่ๆ ได้แก่ Subclavian vien,Internal & External jugular viens , Right &Left Nominate veins ซึ่งจะให้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปาก หรือรับประทานอาหารทางปากได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
3. การให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำใหญ่ผ่านอุปกรณ์ที่ฝังไว้ใต้ผิวหนัง (Implanted vascular
access device หรือ Venous port) เป็นการฝังอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้ของเหลวทางหลอดเลือดดำไว้ใต้ผิวหนัง โดยที่ปลายสายสอดผ่านเข้าหลอดเลือดดำใหญ่ เช่น Subclavian vien , Right &Left Nominate veins แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเป็นระยะๆ และไม่สามารถให้สารน้ำและสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายได้ เช่น ในผู้ป่วยโรคเลือดเรื้อรัง จำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดเป็นระยะๆ
4.Heparin lock หรือ Saline lock เป็นการแทงเข็มให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายและคาเข็มที่หล่อด้วยสารต้านการแข็งตัวของเลือด(Heparin) เจือจาง (Heparin : 0.9 % NSS=1:100)² ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้สารละลายและยาเข้าทางหลอดเลือดดำเป็นครั้งเป็นคราว
วิธีปฏิบัติในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
1.ตรวจสอบคำสั่งการรักษา และเขียนชื่อนามสกุลของผู้ป่วย ชนิดของสารน้ำ วัน เวลาที่เริ่มให้อัตราการหยดของสารน้ำ ลงในแผ่นฉลากปิดข้างขวดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำในปริมาณที่ถูกต้องสอดคล้องกับแผนการรักษา
2.เตรียมสารน้ำให้ถูกต้อง และปิดแผ่นฉลากที่เตรียมไว้
3.เตรียมเข็มให้สารน้ำและเข็มที่ใช้แทงให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการให้สารน้ำ
4.เตรียมอุปกรณ์อื่นๆได้แก่สำลีปลอดเชื้อ แอลกอฮอล์ 70% ยางรัดแขน ก๊อซปลอดเชื้อ 2*2 นิ้วหรือแผ่นโปร่งใส พลาสเตอร์เสาแขวนขวดสารน้ำ
5.บอกให้ผู้ป่วยทราบโดยอธิบายวัตถุประสงค์และวิธีการให้ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและลดความวิตกกังวล และผู้ป่วยให้ความร่วมมือ
6.ล้างมือให้สะอาดเพื่อลดจุลินทรีย์ที่มือพยาบาล
7.ดึงแผ่นโลหะที่ปิดขวดสารน้ำหรือฝาครอบที่ปิดถุงน้ำพลาสติกออก
8.เช็ดจุกยางที่ขวดหรือถุงสารน้ำด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ 70%
9.ต่อชุดให้สารน้ำกับขวดหรือถุงให้สารน้ำด้วยวิธีปลอดเชื้อ ระวังการปนเปื้อนระหว่างแทงเข็มชุดให้สารน้ำผ่านเข้าในจุกยางที่ขวดสารน้ำ
10.ปิดclampที่ชุดให้สารน้ำ ถ้าเป็นชุดสารน้ำที่ควบคุมปริมาตร( volutone set )ต้องปิดclampทั้ง2ที่
11.แขวนขวดให้สารน้ำหรือถุงสารน้ำที่เสาแขวนสูงประมาณ 1 เมตรหรือ 3 ฟุตจากตัวผู้ป่วย
12.บีบกระเปาะที่ชุดให้สารน้ำ( drip chamber)ให้สารน้ำลงมาในกระเปาะประมาณ ½ของกระเปาะ อย่าให้สารน้ำในกระเปาะมากหรือน้อยเกินไป เพราะถ้ามากเกินไปจะไม่สามารถนับจำนวนหยดของสารน้ำได้ หรือถ้าน้อยเกินไปจะทำให้ฟองอากาศเข้าไปในสายและถ้าหลุดลอยเข้าไปในกระแสเลือดของผู้ป่วยจะทำให้เกิดภาวะ air embolism ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย
13.ต่อเข็มที่จะแทงเข้าเส้นเลือดดำกับชุดให้สารน้ำกรณีต้องการแทงด้วยเข็มปีกผีเสื้อถ้าต้องการแทงด้วยเข็มพลาสติกยังไม่ต้องต่อเข็มเข้ากับชุดให้สารน้ำ
14.เปิดclampให้สารน้ำผ่านชุดให้สารน้ำตลอดเต็มสาย เพื่อไล่อากาศออกจากสายและปิดฝาครอบที่ส่วนปลายไว้ก่อน
15.เลือกตำแหน่งที่จะแทงเข็มให้สารน้ำ
16.ใช้ยางรัด ( tourniquet ) เหนือตำแหน่งที่ต้องการแทงเข็ม ประมาณ 2-6นิ้ว เพื่อให้เห็นหลอดเลือดดำชัดเจน
17.สวมถุงมือสะอาดเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเลือดผู้ป่วย
18.ทำความสะอาดผิวหนังตำแหน่งที่จะแทงเข็มด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์70%ทิ้งไว้1/2-1นาที
19.ตรึงผิวหนังตำแหน่งที่จะแทงเข็มด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่ง
20.เตรียมเข็มที่จะแทงโดยจับส่วยปลายด้วยปีกผีเสื้อพับเข้าหากันให้ปลายตัดของเข็มอยู่ด้านบน
21.แทงเข็มทำมุมประมาณ 10-30 องศา
22.เมื่อปลายเข็มเข้าไปในหลอดเลือดจะมีเลือดไหลย้อนกลับเข้ามาในส่วนปลายของเข็มที่แทงให้หยุดแทง แล้วค่อยๆสอดปลายเข็มเข้าไปตามแนวของหลอดเลือดดำ
23.ตรึงหัวเข็มให้อยู่กับที่ไม่เคลื่อนไปมา
24.ปลดยางรัดแขนออกเบาๆระวังการดึงรั้งของผิวหนังเพราะอาจทำไห้เส้นเลือดที่แทงแตกได้
25.เปิด clamp ให้สารน้ำหยดเข้าไปในหลอดเลือดโดยปรับให้หยดช้าๆไว้ก่อน
26.ติดพลาสเตอร์เพื่อยึดหัวเข็มที่แทงให้แน่น
27.วางกอชปลอดเชื้อ 2x2 นิ้ว ปิดที่ตำแหน่งที่เข็มแทงแล้วปิดด้วยพลาสเตอร์หรือติดด้วยแผ่นใส่ปลอดเชื้อ ( transparent dressing )
28.ติดพลาสเตอร์ยึดสายให้สารน้ำป้องกันการดึงรั้ง และเขียนระบุ วัน เวลา ที่เริ่มให้ไว้ที่ชุด ให้สารน้ำ
29.ปรับอัตราหยดตามที่คำนวณไว้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำตามแผนการรักษา
30.เก็บอุปกรณ์และเขียนรายงานลงในบันทึกการพยาบาล
การดูแลตำแหน่งที่แทงเข็มให้สารน้ำ
เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้น พยาบาลต้องดูแลตำแหน่งให้สารน้ำ และให้การดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆโดยมีหลักการดังนี้
1.อุปกรณ์ทุกอย่างและสารน้ำต้องปลอดเชื้อ
2.วิธีการให้สารน้ำต้องใช้หลักของ Aseptic technique และ Standard precaution โดยเฉพาะส่วนต่อต่างๆ เช่น Insertion Spike ที่ชุดให้สารน้ำ ปลายสายชุดให้สารน้ำ ปลายเข็มที่จะแทงเข้าไปในหลอดเลือดดำ ต้องะมัดระวังการปนเปื้อน
◦ขวดสารน้ำต้องเปลี่ยนทุก 24 ชั่วโมง
◦ชุดให้สารน้ำต้องเปลี่ยนทุก 48-72 ชั่วโมง
◦ผ้าปิดแผลที่ตำแหน่งที่แทงเข็มให้สารน้ำต้องเปลี่ยนทุก 48-72 ชั่วโมง
◦หมั่นตรวจสอบอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆของผู้ป่วยขณะให้สารน้ำ เช่น อุณหภูมิของร่างกาย ปฏิกิริยาการแพ้ต่างๆ บริเวณทีแท่งเข็ม ให้สารน้ำปริมาณของสารน้ำที่ผู้ป่วยควรจะได้รับตามแผนการรักษา
การหยุดให้สารน้ำ
1.เครื่องใช้
• สำลีปลอดเชื้อหรือก๊อซปลอดเชื้อ ขนาด 2 x 2 นิ้ว
• พลาสเตอร์
• ถุงมือ
2.วิธีปฏิบัติการหยุดให้สารน้ำ
• ปิด clamp
• แกะพลาสเตอร์ที่ปิดยึดหัวเข็ม และสายให้สารน้ำออกทีละชิ้น ระวังอย่าให้เข็มถูกดึงรั้งออกทางผิวหนัง
• สวมถุงมือเพื่อไม่ให้เลือดสัมผัสกับมือพยาบาล
• ดึงเข็มที่ให้สารน้ำออกทางผิวหนังตามแนวที่แทงเข็มด้วยความนุ่มนวล
• ใช้สำลีแห้งหรือก๊อซปลอดเชื้อขนาด 2 x 2 นิ้ว กดทับที่ตำแหน่งที่ดึงเข็มออก
หรือยึดติดด้วยพลาสเตอร์ และปิดไว้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือจนกว่าเลือดจะหยุด
• เก็บชุดให้สารน้ำและเข็มที่แทงให้เรียบร้อย
• บันทึกในบันทึกทางการพยาบาล ถึงวัน เวลา และเหตุผลของการหยุดให้สารน้ำ
ความคิดเห็น