อุณหภูมิของร่างกาย ( Body temperature)

สัญญาณชีพ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไป

สัญญาณชีพหมายถึง อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ และค่าความดันโลหิตการประเมินสัญญาณชีพจะถี่ห่างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย พยาบาลจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเหมาะสม

อุณหภูมิของร่างกาย ( Body temperature)

อุณหภูมิปกติของร่างกาย หมายถึง อุณหภูมิที่วัดได้จากคนปกติในระยะพักที่ไม่ได้รับผลกระทบจากความร้อนใดๆ คนเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจัดเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่สามารถควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่อยู่ที่ 37องศาเซลเซียส ความร้อนที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นเป็นผลที่ได้มาจากกระบวนการเผาผลาญอาหารซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ความร้อนที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทออกสิ่งแวดล้อม อีกส่วนหนึ่งจะถูกเก็บไว้เพื่อทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิคงที่

การมีไข้ หมายถึง สภาพที่ร่างกายมีอุณหภูมิตั้งแต่ 37.5 องศา (เมื่อวัดทางปาก) การมีไข้ถือว่ามีประโยชน์ เพราะใช้เป็นสัญญาณเตือนให้ทราบว่าร่างกายมีความผิดปกติควรได้รับการดูแลเอาใจใส่
การวัดอุณหภูมิร่างกายทางปาก


การวัดอุณหภูมิร่างกายทางปากเหมาะกับผู้ป่วยที่มีสติสัมปชัญญะดี ไม่หมดสติ ไม่สับสน และไม่เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่วัดอุณหภูมิหลังดื่มหรือรับประทานของร้อนและเย็น เคี้ยวหมากฝรั่ง สูบบุหรี่ ควรรอ 20-30 นาทีก่อนวัด

วิธีการวัด นำเทอร์โมมิเตอร์มาแล้วสลัดเทอร์โมมิเตอร์จนปรอทลงเข้าในกระเปาะหรือต่ำกว่า 35.5องศาเซลเซียส วางเทอร์โมมิเตอร์บริเวณโคนลิ้นด้านหลัง วัดนาน 3-5 นาที จากนั้นจึงค่อยนำเทอร์โมมิเตอร์ออก

อุณหภูมิปกติของร่างกายคือ 36.0-37.5 องศาเซลเซียส

การวัดอุณหภูมิร่างกายทางรักแร้ จะมีความแม่นยำน้อยสุด


วิธีการวัด ให้ผู้ป่วยกางแขนออก ถ้ารักแร้ชื้นให้ใช้ผ้าซับให้แห้ง เพราะความชื้นจะทำให้ได้ค่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

แต่ไม่ควรถูไปถูมาเพราะจะทำให้อุณหภูมิที่รักแร้เพิ่มขึ้น นำเทอร์โมมิเตอร์มาแล้วสลัดให้

ปรอทอยู่ในกระเปาะหรือต่ำกว่า 35.5 องศาเซลเซียส วางเทอร์โมมิเตอร์ให้กระเปาะอยู่ตรงกลางรักแร้ หุบแขนให้ชิดกับลำตัว วัดนาน 5-8 นาทีจึงค่อยนำเทอร์โมมิเตอร์ออก
 
การวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนัก


ไม่การวัดอุณหภูมิร่างกายทางทวารหนักเป็นวิธีการวัดที่แม่นยำที่สุด เหมาะสำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่วัดอุณหภูมิทางทวารหนักในผู้ที่มีบาดแผลหรือมีการอักเสบทางทวารหนัก

วิธีการวัด นำเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดทวารหนัก ทาสารหล่อลื่น เช่น วาสลีน แล้วสอดเข้าไปในรูทวารหนัก ลึก ครึ่งนิ้ว-1 นิ้ว วัดประมาณ 2 นาที จากนั้นจึงนำมาอ่านค่าที่ได้

แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมที่  สัญญาณชีพ:ข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับการปฏิบัติที่เป็นเลิศสำ หรับนักวิชาชีพด้านสุขภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)