ชีพจร (Pulse)

สัญญาณชีพ เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไป
สัญญาณชีพหมายถึง อุณหภูมิของร่างกาย อัตราการเต้นของชีพจร อัตราการหายใจ และค่าความดันโลหิต การประเมินสัญญาณชีพจะถี่ห่างมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย พยาบาลจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและเหมาะสม

ชีพจร (Pulse)
 
การประเมินชีพจรในบุคคลที่มีสุขภาพดี ชีพจรจะสะท้อนให้ทราบถึงตำแหน่งการเต้นของหัวใจ ดังนั้นจำนวนครั้งของชีพจรจะเป็นค่าเดียวกับจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจ โดยมีตำแหน่งของหลอดเลือดแดงที่ใช้ ประเมินชีพจรมีทั้งหมด 9 แห่งดังนี้

1. Temperal artery หลอดเลือดแดงนี้จะทอดผ่านบริเวณขมับซึ่งอยู่ด้านข้างของตาซ้ายและตาขวา เยื้องขึ้นด้านบนเล็กน้อย
2.Carotid artery อยู่บริเวณด้านข้างของคอ หลอดเลือดแดงนี้จะทอดผ่านหลอดลมและกล้ามเนื้อSternomastoid ไม่ควรประเมินชีพจรนี้พร้อมกัน 2 ข้าง นิยมประเมินในระยะช็อคหรือหัวใจหยุดเต้น
3.Apical บริเวณยอดหัวใจ ในผู้ใหญ่จะอยู่ด้านซ้ายมือบริเวณซี่โครงที่ 5 ในเด็กต่ำกว่า 4 ปีจะอยู่ช่องซี่โครงที่ 4
4.Bracial artery อยู่บริเวณกล้ามเนื้อด้านในของแขน(กล้ามเนื้อ biceps) อยู่กึ่งกลางบริเวณข้อพับของข้อศอก
5.Radial artery หลอดเลือดแดงนี้อยู่บริเวณหัวแม่มือด้านในของข้อมือ เป็นตำแหน่งที่นิยมประเมินมากที่สุด
6.Femoral artery หลอดเลือดแดงนี้จะอยู่บริเวณขาหนีบ นิยมประเมินในระยะช็อคหรือหัวใจหยุดเต้น
7.Popiteal artery ทอดผ่านด้านหลังของเข่า เป็นตำแหน่งที่คลำพบค่อนข้างยาก จะคลำพบได้ง่ายถ้าให้ผู้ป่วยงอเข่าเล็กน้อย
8.Dorsalir pedis artery ทอดผ่านบริเวณกระดูกเท้าสามารถคลำพบได้อยู่บริเวณหลังเท้าส่วนบน
9.Posterior tibial artery อยู่ด้านหลังปุ่มกระดูกตาตุ่มของข้อเท้าด้านใน

วิธีการประเมินชีพจร
การประเมินชีพจรใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง วางบนตำแหน่งที่จะประเมิน เช่น ตำแหน่งRadail artery กดเบาๆไม่กดแรงจนเกินไเพราะการกดแรงเกินไปจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด


ไม่ใช้นิ้วหัวแม่มือเพราะชีพจรที่คลำได้อาจจะเป็นนิ้วหัวแม่มือตนเองทำให้การนับชีพจรผิดพลาดได้ ประเมินจังหวะและความแรงของชีพจร นับอัตราการเต้นของชีพจรให้ครบ 1 นาที ในสภาวะปกติอัตราการเต้นของชีพจรจะอยู่ในช่วง 60-100 ครั้งต่อนาที

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)