การดูแลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ เขียนโดย ผศ. พัชรี วรกิจพูนผล

thank you the photo from

การดูแลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ
(Caring for Infants with Phototherapy)

บทนำ
      ทารกแรกเกิดส่วนใหญ่จะได้รับการดูแลอยู่ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเป็นเวลา 24 – 72 ชั่วโมงก่อนที่มารดาจะนำทารกกลับไปเลี้ยงดูที่บ้านเพื่อประเมินร่างกายและสังเกตอาการ ซึ่งพบว่าทารกแรกเกิดบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือ ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) หรือดีซ่าน ซึ่งภาวะดังกล่าวเกิดจาก ร่างกายทารกมีสารกลุ่มบิลิรูบิน (bilirubin)สูงขึ้นมากกว่าปกติ โดยในผู้ใหญ่ภาวะดีซ่านเป็นภาวะที่ผิดปกติเสมอแต่ในทารกแรกเกิดหลังคลอดใหม่ๆ โดยเฉพาะในสัปดาห์แรก ภาวะตัวเหลืองถือเป็นภาวะปกติทางสรีรวิทยาซึ่งเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิดเกือบทุกคน โดยมีปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองได้แก่ มารดาเป็นโรคเบาหวาน มารดาได้รับยา oxytocin ในระหว่างการคลอด มารดาที่ได้รับยาสลบขณะคลอด มารดาและทารกมีเลือดไม่เข้ากัน (ABO incompatibility) ทารกบางรายที่ได้รับนมมารดา ทารกเพศชายโดยเฉพาะในแถบเอเชีย ทารกแรกเกิดที่มีรอยจ้ำเลือดหรือ cephalhematoma ทารกที่ได้รับน้ำนมน้อย ทารกที่คลอดโดยวิธีผ่าตัดออกทางหน้าท้อง ทารกคลอดก่อนกำหนดและมีความสามารถในการดูดกลืนไม่ดีและทารกที่ในครอบครัวมีประวัติการเกิดตัวเหลือง ดังมีการแบ่งชนิดของการเกิดภาวะตัวเหลืองไว้ดังนี้


ชนิดของการเกิดตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
1. Physiological (normal) jaundice
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดปกติพบมากกว่าร้อยละ 50 ของทารกแรกเกิดทั้งหมด โดยทารกอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นทารกเกิดก่อนกำหนดซึ่งมักมีอาการป่วยร่วมด้วยและมีโอกาสเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทารกคลอดก่อนกำหนดทั้งนี้เนื่องจาก blood brain barrier ของทารกคลอดก่อนกำหนดยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
สาเหตุของการเกิด Physiological jaundice อาจเกิดจากความไม่สมบูรณ์ในการทำงานของตับจึงทำให้กระบวนการในการขับบิริลูบินออกยังทำได้ช้า (มีระดับ aceptor protein และ conjugating enzyme น้อย) ซึ่งพบในช่วงวันที่ 2 – 4 และจะหายไปเองใน 1 – 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น ทารกแรกเกิดมักมีการสร้างบิลิรูบินมากกว่าผู้ใหญ่และเด็กโตถึง 2 เท่าเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าและ Enterohepatic circulation มีส่วนทำให้ทารกแรกเกิดตัวเหลือง ถ้าทารกมีลำไส้อุดตันหือถ่ายขี้เทา

2. Pathological Jaundices
ภาวะตัวเหลืองที่ผิดปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุดังต่อไปนี้
2.1  มีการสร้างบิลิรูบินเพิ่มขึ้นกว่าปกติจากภาวะต่างๆ ได้แก่ 
Hemolytic disease of the newborn (HDN) เกิดจากการที่กลุ่มเลือดของมารดาไม่เหมือนของทารกจึงทำให้มารดาสร้างแอนติบอดีต่อกลุ่มเลือดของทารก ซึ่งแอนติบอดีนี้จะผ่านทางรกไปสู่ทารกได้ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดของทารก ABO incompatability เป็นชนิดของ HDN ที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย เกิดในมารดาที่มีเลือดกลุ่มโอเท่านั้นและบุตรมีกลุ่มเลือดเอหรือบี ส่วน Rh incompatability พบน้อยมากและในปัจจุบันแถบประเทศตะวันตกพบน้อยลงเนื่องจากมีวิธีป้องกันโดยการให้ Rh immune globulin แก่มารดาภายใน 72 ชั่วโมงภายหลังคลอด
Red blood cell membrane defect เช่น congenital spherocytosis, congenital ovulocytosis ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ
Red blood cell enzyme defect ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายในภาวะปกติ ได้แก่ การขาด glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PD deficiency) หรือการขาด pyruvate kinase เป็นต้น
Thalassemia
ทารกที่มีเลือดออกภายในร่างกาย เช่น cephalhematoma, เลือดออกในสมองหรือลำไส้จำนวนมาก ทำให้มีบิลิรูบินเข้าสู่กระแสโลหิตมากกว่าปกติ
Polycythemia
2.2  มีการดูดซึมของบิลิรูบินจากลำไส้เพิ่มขึ้นจากภาวะต่างๆ เช่น 

ทารกที่ดูดนมได้น้อย
ภาวะลำไส้อุดกั้น มีบิลิรูบินตกค้างในลำไส้จำนวนมากและดูดซึมกลับสู่ตับได้มากขึ้น
2.3  ตับสามารถกำจัดบิลิรูบินได้น้อยลงเนื่องจากภาวะต่างๆ เช่น 

การขาดเอนไซม์บางชนิดแต่กำเนิด เช่น Gilbert syndrome หรือ Galactosemia
ได้รับยาบางชนิด เช่น oxytocin
ภาวะธัยรอยด์ในเลือดต่ำแต่กำเนิด
มีการ conjugate ของบิริลูบินหรือขับถ่ายน้อยกว่าปกติ เช่น ท่อถุงน้ำดีอุดตัน ลำไส้อุดตัน hypothyriodism หรือได้รับยาที่แย่งจับ albumin ในเลือด ทำให้มีบิริลูบินในกระแสเลือดเพิ่มขึ้น เช่น ซัลโฟนาไมด์ ซาลิไซเลต
2.4  ภาวะติดเชื้อในครรภ์ เช่น การติดเชื้อ Cytomegalovirus (CMV) / Toxoplasmosis / Rubella / Herpesvirus-hominis / Syphillis / Hepatitis

2.5  ภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีระดับ conjugated enzyme ในเลือดต่ำกว่าทารกคลอดครบกำหนด และเนื่องจากขนาดน้ำหนักตัวก็น้อยกว่า จึงทำให้ระดับบิลิรูบินที่ต้องการ การรักษาต่ำลงกว่าทารกคลอดครบกำหนด และทารกคลอดก่อนกำหนดมักมีภาวะหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome; RDS)

 3. Breast milk jaundice
พบประมาณร้อยละ 1 - 2 ในทารกแรกเกิดที่ได้รับนมมารดา ซึ่งพบว่าในน้ำนมมารดามีสารบางชนิดที่ทำให้ระดับบิริลูบินเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 mg เนื่องจากสารดังกล่าวป้องกันการขับบิริลูบินออกทางลำไส้ซึ่งพบว่าทารกจะเริ่มมีอาการตัวเหลืองในวันที่ 4 - 7 และมีระยะเวลาของอาการประมาณ 3 -10 สัปดาห์


คลิกอ่าน การดูแลทารกที่ได้รับการรักษาด้วยการส่องไฟ เขียนโดย ผศ. พัชรี วรกิจพูนผล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1