การฉีดยา

การฉีดยา

(ฐานิกา  บุษมงคล)

       คนส่วนใหญ่มักจะกลัวเข็มฉีดยา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือ ผู้ใหญ่ บางคนกลัวเข็มเลยพาลกลัวหมอ กลัวพยาบาล จนกระทั่งกลัวโรงพยาบาลไปเลยก็มี แต่จริงๆแล้วตัวคุณหมอเองก็ไม่ได้อยากจะฉีดยาผู้ป่วยสักเท่าไหร่ แต่ที่ต้องฉีดก็เพราะ ยากินได้ผลช้า หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็ว ทันท่วงทีในการช่วยชีวิตและบรรเทาอาการเจ็บป่วย  สำหรับนักศึกษาพยาบาลแล้ว เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเรียนเรื่องการฉีดยา ทุกคนก็เต็มไปด้วยความตื่นเต้น เพราะครั้งนี้ไม่ใช่แค่เรียนทฤษฎีในห้องเรียน หรือฝึกปฏิบัติกับหุ่นในห้องปฏิบัติการ(LABORATORY) แต่ต้องฉีดยากันเอง เมื่อถึงวันที่ต้องฉีดยากันเอง บรรยากาศในวันนั้นอาจารย์ก็ทั้งขำ ทั้งสงสารนักศึกษา เพราะว่าบางคนก็ตื่นเต้นจนหน้าซีด มือเย็นเฉียบ เป็นลม หรือร้องไห้ ที่ตลกไปกว่านั้นคือคนโดนฉีดไม่ร้องไห้ แต่คนที่ฉีดเพื่อนดันร้องไห้ซะเอง พออาจารย์ถามนักศึกษาตอบว่า สงสารเพื่อน กลัวเพื่อนเจ็บ อือ แบบนี้พอเรียนจบไป น่าจะเป็นคุณพยาบาลที่อ่อนหวาน ใจดีกับผู้ป่วยนะคะ            

     เอาล่ะค่ะ มาเข้าเรื่องกันนะคะ  เราจะตัดสินใจฉีดยาให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำก็ต่อเมื่อต้องการให้ยาออกฤทธิ์เร็ว หรือต้องการรักษาระดับของยาในกระแสเลือดให้สม่ำเสมอ   โดยยาที่ให้ต้องมีลักษณะเป็นน้ำใส และไม่มีส่วนผสมของน้ำมัน(ย้ำนะคะว่าต้องไม่ใช่ยาประเภทที่มีส่วนผสมของน้ำมัน อย่างไรก็ตามถ้ามีความจำเป็นต้องฉีดยาประเภทนี้ ก็พอจะมีเทคนิคอยู้บ้างไว้คราวหน้าจะเล่าให้ฟังนะคะ)    การฉีดยาทางหลอดเลือดดำมี 4 วิธี คือ

1)การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง  คลิกอ่านเพิ่มเติม

2)การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำโดยผ่านชุด heparin lock คลิกอ่านเพิ่มเติม

3)การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำผ่านชุดให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ  คลิกอ่านเพิ่มเติม

4)การหยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย (Discharge planning)

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1