รวมบทความ การบริการด้วยหัวใจมนุษย์
1. บทความ "จากวาทกรรม ถึงรูปธรรมการแพทย์ ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์"
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2550 02:01 น.
โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
การแพทย์และการสาธารณสุขปัจจุบันมีความซับซ้อน การแพทย์แยกออกเป็นหลายสาขาตามความเชี่ยวชาญ มีการตรวจค้นพิเศษด้วยเครื่องมือนำสมัยนานาชนิด มียารักษาโรคและวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ การสาธารณสุขมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ มีระบบพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เหล่านี้เป็นความก้าวหน้าที่ปฏิเสธไม่ได้
แต่ความซับซ้อนและความก้าวหน้าได้นำมาซึ่งปัญหาบางประการ เช่น ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคแต่ถูกละเลยทางจิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเกิดช่องว่างไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลไม่มีความสุขกับการทำงาน เป็นต้น
ปัญหาสำคัญข้อหนึ่งคือโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ทำให้ทุเลาได้ เมื่อผู้ป่วยและญาติคาดหวังสูงว่าแพทย์ต้องรักษาให้หาย ขณะที่ฝ่ายแพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ป่วยได้ด้วยจึงนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสองฝ่าย
ที่แท้แล้วแพทย์ พยาบาล และบุคลากรไม่ควรมีหน้าที่เพียงทำให้ผู้ป่วยหายจากโรค เพราะโรคหลายโรคไม่มีทางรักษาให้หายตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แพทย์ พยาบาล และบุคลากรจึงควรที่จะรู้วิธีสัมผัสความทุกข์ของผู้ป่วยและบำบัดทุกข์ผู้ป่วยได้ระดับหนึ่ง การบำบัดทุกข์ผู้ป่วยไม่ต้องการเทคโนโลยีหรือเทคนิคพิเศษเพียงต้องการความสามารถที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา จึงเรียกว่าขอให้มีหัวใจก็พอ
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้เสนอให้ใช้คำว่า การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ หรือ Humanized Health Care และเคยบรรยายว่าแบบฟอร์มซักประวัติของโรงพยาบาลต่างๆ นั้นมีไว้เพื่อค้นหาข้อมูลมาเพื่อวินิจฉัยโรคและรักษา แต่ไม่มีส่วนที่ใช้เพื่อสัมภาษณ์ค้นหาความทุกข์ของผู้ป่วย ทำให้แม้ผู้ป่วยมีความทุกข์นั่งอยู่ตรงหน้าก็มองไม่เห็น เพราะภารกิจหลักของบุคลากรทุกคนคือค้นหาโรค มิใช่ค้นหาความทุกข์
ความเจ็บป่วยประกอบขึ้นด้วยสองส่วน คือโรคและความทุกข์ทรมาน การแพทย์แผนปัจจุบันใส่ใจโรคและมุ่งรักษาโรค แต่ลืมไปว่าผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานด้วย และไม่ได้ถูกฝึกมาให้มีความสามารถที่จะสัมผัสความทุกข์ทรมานเหล่านี้
ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว (พ.ศ.2540-2523) บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทยเคยกล่าวว่า
รักษาให้หาย ทำได้บางคราว
ช่วยให้ทุเลา ทำได้บ่อยกว่า
แต่การปลอบใจให้สบายใจขึ้นนั้น ทำได้ตลอดกาล
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้นำคณะดูงานซึ่งประกอบด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพสช.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งไปเยี่ยมชมกิจกรรมที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ โรงพยาบาลพุทธฉือจี้ 2 แห่งในประเทศไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549
หลังจากกลับจากดูงานยังคงมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ไปดูงานและภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหารูปแบบ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ในบริบทของสังคมไทยอย่างสม่ำเสมอ
มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการแพทย์ที่มีหัวใจครั้งสำคัญเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2549 ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสาธารณสุขภาคส่วนต่างๆ เครือข่ายจิตอาสาและภาคประชาชน
หลังจากนั้นสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้จัดการประชุมระดับชาติภายใต้หัวข้อ คืนหัวใจให้ระบบสุขภาพ เมื่อวันที่ 13-16 มีนาคม พ.ศ.2550 มีบุคลากรระบบสุขภาพเข้าร่วมประชุมประมาณ 6,000 คน นับเป็นก้าวย่างสำคัญในการทำให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ยินและรู้จักวาทกรรมใหม่ นั่นคือ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
อะไรคือ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับสังคมไทย
มีเครื่องมือหลายชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าจะเหนี่ยวนำให้บุคลากรในระบบสุขภาพมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณมากขึ้น แล้วสามารถเผื่อแผ่ความสุขนี้ให้แก่ผู้มารับบริการคือผู้ป่วยและญาติ ในทำนองเดียวกันมีเครื่องมือหลายชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าจะทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความสุขมากขึ้นแม้ขณะเจ็บป่วย แล้วสามารถถ่ายทอดความสุขนี้ให้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลได้ด้วย
หนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นชิ้นหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่างาน อาสาสมัคร หรือ จิตอาสา
คำว่าอาสาสมัครเป็นชื่อเรียกกิจกรรมที่กระทำโดยไม่มีค่าตอบแทน อันที่จริงงานของแพทย์และพยาบาลเป็นงานที่เรียกได้ว่ามีองค์ประกอบของงานอาสาสมัครโดยธรรมชาติ เพราะส่วนใหญ่ทำเกินหน้าที่อยู่แล้ว แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทำให้แพทย์และพยาบาลจำนวนมากเป็นทุกข์กับงานที่ทำทั้งที่ควรจะเป็นสุขกับงานที่ทำหากทำด้วยจิตใจอาสาสมัคร เพราะความสุขง่ายๆ ประการหนึ่งคือความสุขเนื่องจากการให้
งานอาสาสมัครจึงสมควรก้าวพ้นจากระดับกิจกรรมไปสู่สิ่งที่เรียกว่า จิตอาสา
ณ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างงานอาสาสมัครหรือจิตอาสาในหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศ
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายโรงพยาบาลจิตอาสาและส่งเสริมสนับสนุนให้โรงพยาบาลทั่วประเทศพยายามสร้างงานอาสาสมัครในโรงพยาบาล อาสาสมัครนั้นจะมาจากความร่วมมือของชุมชน กิจกรรมอาสาสมัครอาจจะมีหลากหลาย แต่หัวใจสำคัญของงานคือการผุดบังเกิดของ จิตอาสา ของผู้คนในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ใดๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติให้ทุกคนสามารถสัมผัสความสุขจากการเป็นผู้ให้ และไม่เรียกร้องเอาจากกันและกัน
มีโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งต้อนรับชุมชนให้เข้ามาสร้างงานอาสาสมัคร ที่มีผลงานปรากฏเป็นรูปธรรมและเคยนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว เช่น รพ.น้ำพอง ขอนแก่น, รพ.เทพา สงขลา, รพ.บ้านแพ้ว สมุทรสาคร, รพ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี รวมทั้ง รพ.รามาธิบดี ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยศูนย์มิตรภาพบำบัด ได้สนับสนุนศูนย์มะเร็งในสังกัดกรมการแพทย์และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้สร้างงานร่วมกันระหว่างบุคลากรกับผู้ป่วยมะเร็ง ญาติ และอาสาสมัคร
ที่มีผลงานปรากฏแล้ว 16 แห่ง ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ศูนย์มะเร็งจังหวัดชลบุรี ลพบุรี อุดรธานี อุบลราชธานี ลำปาง สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี ศูนย์มะเร็ง รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.ภูมิพลอดุลยเดช รพ.จุฬาลงกรณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์ รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี
อีกทั้งมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีจำนวนมากขึ้นในปีต่อไป ถัดจากงานอาสาสมัครคือการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ พบว่ามีการดำเนินงานด้านนี้อยู่ก่อนแล้วอย่างเป็นรูปธรรมในโครงการที่นำนักศึกษาแพทย์ไปดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และให้มีส่วนร่วมในการช่วยผู้ป่วยเผชิญความตายอย่างสงบ
มีอย่างน้อย 2 แห่งที่ได้เสนอผลงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วคือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ล่าสุดมีการนำเสนอโครงการหลากหลายชนิดของนักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่สามารถเรียกได้ว่าช่วยให้ผู้ป่วยและญาติมีความสุข รวมทั้งมีความพยายามที่จะพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจนี้ในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย
เมื่อครั้งคณะดูงานกลับจากการดูงานโรงพยาบาลพุทธฉือจี้ ประเทศไต้หวัน พบว่ากิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของโรงพยาบาลพุทธฉือจี้มีหลากหลาย ที่ใช้กับประชาชนทั่วไป เช่น จิตอาสา ดนตรี และศิลปะที่ใช้กับนักศึกษาแพทย์ เช่น การชงชาแบบจีน การเขียนพู่กันจีน และการจัดดอกไม้
มีคำถามว่ากิจกรรมเหล่านี้สามารถพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้คนในโรงพยาบาลจริงหรือ และกิจกรรมแบบใดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ จึงให้การสนับสนุนภาคีที่สร้างสรรค์งานเป็นรูปธรรมบางเรื่องให้ทดลองสร้างงานที่สามารถพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจ ได้แก่ เครือข่ายพุทธิกาได้ดำเนินโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ใน รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.สงขลานครินทร์ รพ.เสาไห้ รพ.ชัยภูมิ และ รพ.ขอนแก่น
สถาบันโยคะวิชาการและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ดำเนินโครงการบริหารกายด้วยโยคะและการรำไท้เก็กเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดชลบุรี ระยอง นครปฐม พิษณุโลก ตาก เชียงราย ภูเก็ต สงขลา ตรัง และสตูล รวมทั้งสิ้นประมาณ 30 แห่ง มูลนิธิกระจกเงาได้ดำเนินโครงการโรงพยาบาลดีมีสุขร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินีเพื่อสร้างองค์ความรู้และรูปแบบของงานอาสาสมัครสำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาลเด็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลยังได้เปิดโอกาสให้โรงพยาบาล 6 แห่ง เป็นโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง โรงพยาบาลจังหวัด 1 แห่ง เข้าร่วมโครงการนำร่องพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ นั่นคือ รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี, รพ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, รพ.ละงู จ.สตูล, รพ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา, รพ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ และ รพ.ลำพูน ทั้งนี้เป็นการนำร่องแบบเปิดกว้างและให้เสรีภาพแก่โรงพยาบาลในการสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่า การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
การแพทย์ที่มีหัวใจควรเป็นวาทกรรมที่เปิดกว้าง เพื่อรอโรงพยาบาลต่างๆ ที่เห็นพ้องกันว่าการแพทย์ปัจจุบันนั้นไม่ยากและไม่ได้ใจร้ายไปเสียทั้งหมดดังที่สาธารณชนรู้สึก ในทางตรงข้ามการแพทย์ปัจจุบันนั้นสามารถพัฒนาความสามารถที่จะสัมผัสความทุกข์ของผู้ป่วยและบำบัดความทุกข์นั้นได้ด้วย พื้นที่พัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจนี้เปิดกว้างให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทุกระดับได้ร่วมสร้างสรรค์ไปจนถึงปะทะสังสรรค์เพื่อสร้างกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม
เพ็ญลักขณา ขำเลิศ โรงพยาบาลภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ งานคือความดีที่หล่อเลี้ยงชีวิต บรรยายความรู้สึกของญาติผู้ป่วยที่มีพยาบาลไปเยี่ยมบ้านว่า
"มันคิดถึงหมอ มันจะถูกระดานรอหมอทุกวัน แล้วก็ชะเง้อเวลามีรถผ่านบ้าน ฉันก็ได้แต่บอกว่าหมอมีธุระไปเยี่ยมคนอื่น วันนี้ไม่มาหรอก ยายชมเล่า"
จะเห็นว่าการแพทย์ที่มีหัวใจไม่ต้องการความสามารถมากมาย เพียงเรื่องเล็กน้อยบางเรื่องก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ป่วยแล้ว
อ้างอิงจากมติชนออนไลน์
2. การบริการหัวใจมนุษย์
โดย อำพล จินดาวัฒนะ http://www.mohanamai.com/UserFiles/File/mnm18-3/P.1-2.pdf
บริการสาธารณสุข เป็นบริการที่เกี่ยวกับชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษย์
บริการสาธารณสุข เป็นบริการเชิงมนุษยธรรม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยคุณธรรมและจริยธรรมเป็น
เครื่องกำกับ
บริการสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะ (public good) เป็นบริการทางวิชาชีพ (professional)
ไม่ใช่บริการทั่วไปที่ทำเพื่อค้ากำไรเชิงธุรกิจ (profit business & trade) เพื่อ หวัง ผลกำไรสงู สดุ ตาม
กลไกตลาด
บริการสาธารณสุขจึงต้องเป็นบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ คือ มีความรัก ความเมตตา-
กรุณา เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง
การพัฒนาตามทิศทางโลกาภิวัตน์และตลาดเสรีได้ฉุดดึงให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไปผูกติดอยู่กับ
“เงิน” เป็นสรณะ การบริการสาธารณสุขก็ถูกดึงไปในทิศทางนี้มากขึ้น จนละเลยมิติของความเป็นมนุษย์
ลงไปอย่างมาก ซึ่งเป็นทิศทางที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
ทั้งแพทย์ พยาบาล หมออนามัย บุคลากรสาธารณสุข ประชาชน และผู้ป่วยล้วนเป็นเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน ควรมีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มิใช่อยู่เพื่อเอาจากกันให้ได้
มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ถ้าแพทย์ พยาบาล หมออนามัย และบุคลากรสาธารณสุข กลายเป็นคนแปลกหน้า หรืออยู่คนละขั้วกับประชาชนและผู้ป่วย คอยแต่จะขายบริการ หรือค้ากำไรหรือหาประโยชน์จากประชาชนและผู้ป่วยให้มากเข้าไว้
ในขณะเดียวกัน ประชาชนและผู้ป่วยก็คอยแต่จะหาช่องทางให้ได้ประโยชน์สูงสุด จากการใช้บริการสาธารณสุขตามสิทธิ์หรือตามกำลังซื้อของฝ่ายตน โดยต่างฝ่ายต่างไม่ไยดีในความรู้สึกของกันและกัน ไม่มีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ระบบบริการสาธารณสุขคงไม่ต่างอะไรกับระบบบริการแบบตัวใครตัวมันที่ต่างคนต่างอยู่คนละมุม ต่างคนต่างหาโอกาสและหยิบฉวยผลประโยชน์เข้าตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ระบบบริการสาธารณสุขก็จะขาดความมีหัวใจของมนุษย์
โดย มติชน วัน เสาร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2550 02:01 น.
โดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
การแพทย์และการสาธารณสุขปัจจุบันมีความซับซ้อน การแพทย์แยกออกเป็นหลายสาขาตามความเชี่ยวชาญ มีการตรวจค้นพิเศษด้วยเครื่องมือนำสมัยนานาชนิด มียารักษาโรคและวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ การสาธารณสุขมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมสุขภาพ มีระบบพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เหล่านี้เป็นความก้าวหน้าที่ปฏิเสธไม่ได้
แต่ความซับซ้อนและความก้าวหน้าได้นำมาซึ่งปัญหาบางประการ เช่น ผู้ป่วยได้รับการรักษาโรคแต่ถูกละเลยทางจิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเกิดช่องว่างไม่สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลไม่มีความสุขกับการทำงาน เป็นต้น
ปัญหาสำคัญข้อหนึ่งคือโรคภัยไข้เจ็บหลายชนิดไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ทำให้ทุเลาได้ เมื่อผู้ป่วยและญาติคาดหวังสูงว่าแพทย์ต้องรักษาให้หาย ขณะที่ฝ่ายแพทย์ไม่สามารถรักษาให้หายได้แต่ก็ไม่สามารถทำความเข้าใจกับผู้ป่วยได้ด้วยจึงนำมาซึ่งความทุกข์ทั้งสองฝ่าย
ที่แท้แล้วแพทย์ พยาบาล และบุคลากรไม่ควรมีหน้าที่เพียงทำให้ผู้ป่วยหายจากโรค เพราะโรคหลายโรคไม่มีทางรักษาให้หายตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว แพทย์ พยาบาล และบุคลากรจึงควรที่จะรู้วิธีสัมผัสความทุกข์ของผู้ป่วยและบำบัดทุกข์ผู้ป่วยได้ระดับหนึ่ง การบำบัดทุกข์ผู้ป่วยไม่ต้องการเทคโนโลยีหรือเทคนิคพิเศษเพียงต้องการความสามารถที่จะเอาใจเขามาใส่ใจเรา จึงเรียกว่าขอให้มีหัวใจก็พอ
นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้เสนอให้ใช้คำว่า การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ หรือ Humanized Health Care และเคยบรรยายว่าแบบฟอร์มซักประวัติของโรงพยาบาลต่างๆ นั้นมีไว้เพื่อค้นหาข้อมูลมาเพื่อวินิจฉัยโรคและรักษา แต่ไม่มีส่วนที่ใช้เพื่อสัมภาษณ์ค้นหาความทุกข์ของผู้ป่วย ทำให้แม้ผู้ป่วยมีความทุกข์นั่งอยู่ตรงหน้าก็มองไม่เห็น เพราะภารกิจหลักของบุคลากรทุกคนคือค้นหาโรค มิใช่ค้นหาความทุกข์
ความเจ็บป่วยประกอบขึ้นด้วยสองส่วน คือโรคและความทุกข์ทรมาน การแพทย์แผนปัจจุบันใส่ใจโรคและมุ่งรักษาโรค แต่ลืมไปว่าผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานด้วย และไม่ได้ถูกฝึกมาให้มีความสามารถที่จะสัมผัสความทุกข์ทรมานเหล่านี้
ศ.นพ.ฝน แสงสิงแก้ว (พ.ศ.2540-2523) บิดาแห่งจิตเวชศาสตร์ไทยเคยกล่าวว่า
รักษาให้หาย ทำได้บางคราว
ช่วยให้ทุเลา ทำได้บ่อยกว่า
แต่การปลอบใจให้สบายใจขึ้นนั้น ทำได้ตลอดกาล
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้นำคณะดูงานซึ่งประกอบด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ผู้อำนวยการสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพสช.) นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งไปเยี่ยมชมกิจกรรมที่สามารถเรียกได้ว่าเป็น การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ณ โรงพยาบาลพุทธฉือจี้ 2 แห่งในประเทศไต้หวันเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2549
หลังจากกลับจากดูงานยังคงมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ไปดูงานและภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อค้นหารูปแบบ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ ในบริบทของสังคมไทยอย่างสม่ำเสมอ
มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการแพทย์ที่มีหัวใจครั้งสำคัญเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2549 ในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากสาธารณสุขภาคส่วนต่างๆ เครือข่ายจิตอาสาและภาคประชาชน
หลังจากนั้นสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลได้จัดการประชุมระดับชาติภายใต้หัวข้อ คืนหัวใจให้ระบบสุขภาพ เมื่อวันที่ 13-16 มีนาคม พ.ศ.2550 มีบุคลากรระบบสุขภาพเข้าร่วมประชุมประมาณ 6,000 คน นับเป็นก้าวย่างสำคัญในการทำให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ยินและรู้จักวาทกรรมใหม่ นั่นคือ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
อะไรคือ การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ สำหรับสังคมไทย
มีเครื่องมือหลายชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าจะเหนี่ยวนำให้บุคลากรในระบบสุขภาพมีสุขภาวะทางจิตวิญญาณมากขึ้น แล้วสามารถเผื่อแผ่ความสุขนี้ให้แก่ผู้มารับบริการคือผู้ป่วยและญาติ ในทำนองเดียวกันมีเครื่องมือหลายชิ้นที่เชื่อได้ว่าน่าจะทำให้ผู้ป่วยและญาติมีความสุขมากขึ้นแม้ขณะเจ็บป่วย แล้วสามารถถ่ายทอดความสุขนี้ให้แก่แพทย์ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลได้ด้วย
หนึ่งในเครื่องมือเหล่านั้นชิ้นหนึ่งคือสิ่งที่เรียกว่างาน อาสาสมัคร หรือ จิตอาสา
คำว่าอาสาสมัครเป็นชื่อเรียกกิจกรรมที่กระทำโดยไม่มีค่าตอบแทน อันที่จริงงานของแพทย์และพยาบาลเป็นงานที่เรียกได้ว่ามีองค์ประกอบของงานอาสาสมัครโดยธรรมชาติ เพราะส่วนใหญ่ทำเกินหน้าที่อยู่แล้ว แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทำให้แพทย์และพยาบาลจำนวนมากเป็นทุกข์กับงานที่ทำทั้งที่ควรจะเป็นสุขกับงานที่ทำหากทำด้วยจิตใจอาสาสมัคร เพราะความสุขง่ายๆ ประการหนึ่งคือความสุขเนื่องจากการให้
งานอาสาสมัครจึงสมควรก้าวพ้นจากระดับกิจกรรมไปสู่สิ่งที่เรียกว่า จิตอาสา
ณ ปัจจุบันมีความพยายามที่จะสร้างงานอาสาสมัครหรือจิตอาสาในหลายโรงพยาบาลทั่วประเทศ
กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสนับสนุนบริการสาธารณสุขได้ประกาศนโยบายโรงพยาบาลจิตอาสาและส่งเสริมสนับสนุนให้โรงพยาบาลทั่วประเทศพยายามสร้างงานอาสาสมัครในโรงพยาบาล อาสาสมัครนั้นจะมาจากความร่วมมือของชุมชน กิจกรรมอาสาสมัครอาจจะมีหลากหลาย แต่หัวใจสำคัญของงานคือการผุดบังเกิดของ จิตอาสา ของผู้คนในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ใดๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติให้ทุกคนสามารถสัมผัสความสุขจากการเป็นผู้ให้ และไม่เรียกร้องเอาจากกันและกัน
มีโรงพยาบาลชุมชนหลายแห่งต้อนรับชุมชนให้เข้ามาสร้างงานอาสาสมัคร ที่มีผลงานปรากฏเป็นรูปธรรมและเคยนำเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว เช่น รพ.น้ำพอง ขอนแก่น, รพ.เทพา สงขลา, รพ.บ้านแพ้ว สมุทรสาคร, รพ.พระนั่งเกล้า นนทบุรี รวมทั้ง รพ.รามาธิบดี ในกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยศูนย์มิตรภาพบำบัด ได้สนับสนุนศูนย์มะเร็งในสังกัดกรมการแพทย์และโรงพยาบาลขนาดใหญ่ให้สร้างงานร่วมกันระหว่างบุคลากรกับผู้ป่วยมะเร็ง ญาติ และอาสาสมัคร
ที่มีผลงานปรากฏแล้ว 16 แห่ง ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, ศูนย์มะเร็งจังหวัดชลบุรี ลพบุรี อุดรธานี อุบลราชธานี ลำปาง สุราษฎร์ธานี ปทุมธานี ศูนย์มะเร็ง รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.ภูมิพลอดุลยเดช รพ.จุฬาลงกรณ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์ รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี
อีกทั้งมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้มีจำนวนมากขึ้นในปีต่อไป ถัดจากงานอาสาสมัครคือการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ พบว่ามีการดำเนินงานด้านนี้อยู่ก่อนแล้วอย่างเป็นรูปธรรมในโครงการที่นำนักศึกษาแพทย์ไปดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย และให้มีส่วนร่วมในการช่วยผู้ป่วยเผชิญความตายอย่างสงบ
มีอย่างน้อย 2 แห่งที่ได้เสนอผลงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วคือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ล่าสุดมีการนำเสนอโครงการหลากหลายชนิดของนักศึกษาแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลที่สามารถเรียกได้ว่าช่วยให้ผู้ป่วยและญาติมีความสุข รวมทั้งมีความพยายามที่จะพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจนี้ในคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย
เมื่อครั้งคณะดูงานกลับจากการดูงานโรงพยาบาลพุทธฉือจี้ ประเทศไต้หวัน พบว่ากิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของโรงพยาบาลพุทธฉือจี้มีหลากหลาย ที่ใช้กับประชาชนทั่วไป เช่น จิตอาสา ดนตรี และศิลปะที่ใช้กับนักศึกษาแพทย์ เช่น การชงชาแบบจีน การเขียนพู่กันจีน และการจัดดอกไม้
มีคำถามว่ากิจกรรมเหล่านี้สามารถพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณของผู้คนในโรงพยาบาลจริงหรือ และกิจกรรมแบบใดที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ จึงให้การสนับสนุนภาคีที่สร้างสรรค์งานเป็นรูปธรรมบางเรื่องให้ทดลองสร้างงานที่สามารถพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจ ได้แก่ เครือข่ายพุทธิกาได้ดำเนินโครงการเผชิญความตายอย่างสงบ ใน รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช รพ.สงขลานครินทร์ รพ.เสาไห้ รพ.ชัยภูมิ และ รพ.ขอนแก่น
สถาบันโยคะวิชาการและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้ดำเนินโครงการบริหารกายด้วยโยคะและการรำไท้เก็กเพื่อพัฒนาสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ในโรงพยาบาลชุมชนของจังหวัดชลบุรี ระยอง นครปฐม พิษณุโลก ตาก เชียงราย ภูเก็ต สงขลา ตรัง และสตูล รวมทั้งสิ้นประมาณ 30 แห่ง มูลนิธิกระจกเงาได้ดำเนินโครงการโรงพยาบาลดีมีสุขร่วมกับสถาบันสุขภาพเด็กมหาราชินีเพื่อสร้างองค์ความรู้และรูปแบบของงานอาสาสมัครสำหรับเด็กป่วยในโรงพยาบาลเด็ก เป็นต้น
นอกจากนี้ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลยังได้เปิดโอกาสให้โรงพยาบาล 6 แห่ง เป็นโรงพยาบาลชุมชน 5 แห่ง โรงพยาบาลจังหวัด 1 แห่ง เข้าร่วมโครงการนำร่องพัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์ นั่นคือ รพ.เสาไห้ จ.สระบุรี, รพ.ตาคลี จ.นครสวรรค์, รพ.ละงู จ.สตูล, รพ.บ้านเหลื่อม จ.นครราชสีมา, รพ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ และ รพ.ลำพูน ทั้งนี้เป็นการนำร่องแบบเปิดกว้างและให้เสรีภาพแก่โรงพยาบาลในการสร้างสรรค์สิ่งที่เรียกว่า การแพทย์ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์
การแพทย์ที่มีหัวใจควรเป็นวาทกรรมที่เปิดกว้าง เพื่อรอโรงพยาบาลต่างๆ ที่เห็นพ้องกันว่าการแพทย์ปัจจุบันนั้นไม่ยากและไม่ได้ใจร้ายไปเสียทั้งหมดดังที่สาธารณชนรู้สึก ในทางตรงข้ามการแพทย์ปัจจุบันนั้นสามารถพัฒนาความสามารถที่จะสัมผัสความทุกข์ของผู้ป่วยและบำบัดความทุกข์นั้นได้ด้วย พื้นที่พัฒนาการแพทย์ที่มีหัวใจนี้เปิดกว้างให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทุกระดับได้ร่วมสร้างสรรค์ไปจนถึงปะทะสังสรรค์เพื่อสร้างกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม
เพ็ญลักขณา ขำเลิศ โรงพยาบาลภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา เขียนข้อความตอนหนึ่งในหนังสือ งานคือความดีที่หล่อเลี้ยงชีวิต บรรยายความรู้สึกของญาติผู้ป่วยที่มีพยาบาลไปเยี่ยมบ้านว่า
"มันคิดถึงหมอ มันจะถูกระดานรอหมอทุกวัน แล้วก็ชะเง้อเวลามีรถผ่านบ้าน ฉันก็ได้แต่บอกว่าหมอมีธุระไปเยี่ยมคนอื่น วันนี้ไม่มาหรอก ยายชมเล่า"
จะเห็นว่าการแพทย์ที่มีหัวใจไม่ต้องการความสามารถมากมาย เพียงเรื่องเล็กน้อยบางเรื่องก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับผู้ป่วยแล้ว
อ้างอิงจากมติชนออนไลน์
2. การบริการหัวใจมนุษย์
โดย อำพล จินดาวัฒนะ http://www.mohanamai.com/UserFiles/File/mnm18-3/P.1-2.pdf
บริการสาธารณสุข เป็นบริการที่เกี่ยวกับชีวิตและเลือดเนื้อของมนุษย์
บริการสาธารณสุข เป็นบริการเชิงมนุษยธรรม ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยคุณธรรมและจริยธรรมเป็น
เครื่องกำกับ
บริการสาธารณสุข เป็นบริการสาธารณะ (public good) เป็นบริการทางวิชาชีพ (professional)
ไม่ใช่บริการทั่วไปที่ทำเพื่อค้ากำไรเชิงธุรกิจ (profit business & trade) เพื่อ หวัง ผลกำไรสงู สดุ ตาม
กลไกตลาด
บริการสาธารณสุขจึงต้องเป็นบริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ คือ มีความรัก ความเมตตา-
กรุณา เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ใช้เงินเป็นตัวตั้ง
การพัฒนาตามทิศทางโลกาภิวัตน์และตลาดเสรีได้ฉุดดึงให้ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไปผูกติดอยู่กับ
“เงิน” เป็นสรณะ การบริการสาธารณสุขก็ถูกดึงไปในทิศทางนี้มากขึ้น จนละเลยมิติของความเป็นมนุษย์
ลงไปอย่างมาก ซึ่งเป็นทิศทางที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
ทั้งแพทย์ พยาบาล หมออนามัย บุคลากรสาธารณสุข ประชาชน และผู้ป่วยล้วนเป็นเพื่อนร่วมสังคมเดียวกัน ควรมีชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มิใช่อยู่เพื่อเอาจากกันให้ได้
มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ถ้าแพทย์ พยาบาล หมออนามัย และบุคลากรสาธารณสุข กลายเป็นคนแปลกหน้า หรืออยู่คนละขั้วกับประชาชนและผู้ป่วย คอยแต่จะขายบริการ หรือค้ากำไรหรือหาประโยชน์จากประชาชนและผู้ป่วยให้มากเข้าไว้
ในขณะเดียวกัน ประชาชนและผู้ป่วยก็คอยแต่จะหาช่องทางให้ได้ประโยชน์สูงสุด จากการใช้บริการสาธารณสุขตามสิทธิ์หรือตามกำลังซื้อของฝ่ายตน โดยต่างฝ่ายต่างไม่ไยดีในความรู้สึกของกันและกัน ไม่มีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ระบบบริการสาธารณสุขคงไม่ต่างอะไรกับระบบบริการแบบตัวใครตัวมันที่ต่างคนต่างอยู่คนละมุม ต่างคนต่างหาโอกาสและหยิบฉวยผลประโยชน์เข้าตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ระบบบริการสาธารณสุขก็จะขาดความมีหัวใจของมนุษย์
ความคิดเห็น