การพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต

การพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต

การพยาบาลผู้ป่วยระยะวิกฤต: การบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยวิกฤตมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากผู้ป่วยวิกฤตเป็นผู้ที่อยู่ในระยะเฉียบพลันมีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิต การรักษาประคับประคองชีวิตผู้ป่วย จำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีการอบรมเฉพาะทาง ต้องใช้ยา อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน มีราคาแพง ต้องใช้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่อรายสูงมาก รวมทั้งวิธีการให้การรักษามีความเสี่ยงและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ถ้าการใช้ยา เครื่องมือ การทำหัตถการเพื่อประคับประคองชีวิตไม่เป็นไปตามสรีรวิทยาตามธรรมชาติ การบริหารจัดการการดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยวิกฤตปลอดภัยและมีภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด พยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงใน ไอ.ซี.ยู จึงต้องพัฒนาสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต (direct care) ของตนเองควบคู่ไปกับการบริหารจัดการการดูแล (care management) ตั้งแต่การบริหารจัดการให้ผู้ป่วยวิกฤตได้รับการดูแลจากทีมการรักษาพยาบาลที่มีความรู้ ความชำนาญในการรักษา ปฏิบัติงานโดยใช้หลักฐานความรู้เชิงประจักษ์ (evidence based practice) การบริหารจัดการให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ที่เพียงพอ และพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการหายของผู้ป่วย (safety and healing environment) มีกระบวนการดูแลที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการดูแล (standard of care) ตั้งแต่การบริหารจัดการให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการใน ไอ.ซี.ยู อย่างรวดเร็ว วางแผนจำหน่ายและวางระบบการเปลี่ยนผ่านการดูแลจาก ไอ.ซี.ยู สู่หอผู้ป่วยกึ่งวิกฤต หอผู้ป่วยสามัญ บ้านและชุมชน (transitional ICU) ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงต้องใช้สมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงทุกสมรรถนะ เพื่อบริหารจัดการผลลัพธ์(outcome management) ให้เกิดผลลัพธ์สูงสุด และพัฒนาให้เกิดการปฏิบัติการพยาบาลที่เป็นเลิศ (nursing best practices)

กัญญารัตน์ ผึ่งบรรหาร* APN, PhD.โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เจ้าของลิขสิทธิ์บทความ 
บทความนี้เผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

เก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาลพร้อมเฉลยฉบับที่1

เฉลยเก็งแนวข้อสอบสภาการพยาบาล(สุขภาพจิตและจิตเวช)