พัฒนาการของการสร้างมาตรฐานการพยาบาล
พัฒนาการของการสร้างมาตรฐานการพยาบาล
การสร้างมาตรฐานการพยาบาล ได้มีการริเริ่มสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1963 โดยข้อความมาตรฐานการพยาบาลขณะนั้นเพื่อนำไปสู่การประเมินโครงสร้างของหน่วยงานหรือบ่งบอกหลักฐานการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างกว้างๆเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนพอที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ รวมทั้งไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้การพยาบาลได้ (กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล, 2539)
ต่อมาในปี ค.ศ 1966 สมาคมพยาบาลอเมริกัน(American Nurses Association) ได้แบ่งกลุ่มพัฒนาการสร้างมาตรฐานการพยาบาลขึ้น (Smeltzen, 1983 อ้างใน ศิริพร ฉัตรโพธิ์ทอง, 2530) ซึ่งมาตรฐานที่สร้างขึ้นเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการประกันคุณภาพการพยาบาล ในปี ค.ศ.1970 มีการจัดตั้งสมาคมโรงพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (American Hospital Association) และกรรมาธิการร่วมเพื่อการรับรองโรงพยาบาล (JOINT Commission on Accreditation of Hospital) ใช้ชื่อย่อว่า JCAH มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพทางการแพทย์และการพยาบาล โดยจะดูผลการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนหลังถึงคุณภาพการพยาบาลของหน่วยงานและองค์กร รวมทั้งปรับปรุงเกณฑ์และกระบวนการพยาบาลเพื่อการวัดคุณภาพทางการพยาบาล และในปี ค.ศ.1972 สหรัฐอเมริกาได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคมและมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพ(Professional Standard Review Organization) ใช้ชื่อย่อว่า PSRO โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อตรวจสอบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยว่าเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่
ต่อมาสภาการพยาบาลแห่งชาติ (National League for Nursing: NLN) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกามีหน้าที่วางมาตรฐานการศึกษาและทำการตรวจสอบเพื่อรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาพยาบาล ได้กำหนดมาตรฐานในการบริการพยาบาลไว้ 5 มาตรฐาน (กองการพยาบาล, 2542) คือ
มาตรฐานข้อที่ 1 การให้บริการต้องอยู่ภายใต้กฎหมายวิชาชีพ พยาบาลที่ทำหน้าที่ให้บริการจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติหน้าที่โดยวางแผนการมอบหมาย การนิเทศ การประเมินผลการพยาบาลโดยใช้ทักษะในการปฏิบัติงาน
มาตรฐานข้อที่ 2 ในการบริการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาลจะต้องเขียนแผน การดำเนินงานของฝ่ายการพยาบาลให้เป็นปัจจุบันเสมอ โดยต้องวิเคราะห์จากโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ตลอดจนกลไกการร่วมมือประสานแผนและการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ
มาตรฐานข้อที่ 3 นโยบายการบริหารแผนการพยาบาลและคู่มือการปฏิบัติ การพยาบาลจะต้องปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลให้บรรลุบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและเป้าหมายของโครงการ
มาตรฐานข้อที่ 4 บริการที่ให้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยโดยมีการวางแผน การพยาบาลตามแผนการรักษาพยาบาลและสามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน
มาตรฐานข้อที่ 5 ควรจัดโปรแกรมการฝึกอบรมในการปฏิบัติงานและการ ศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบุคลากร
ในประเทศไทยเริ่มมีความสนใจเรื่องมาตรฐานการพยาบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522 โดยการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 6 จัดโดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยได้ใช้ชื่อการประชุมครั้งนี้ว่า “คุณภาพการพยาบาล”และการประชุมได้มีกล่าวถึงมาตรฐานการพยาบาลในการประกันคุณภาพการพยาบาล ต่อมาได้มีผู้ให้ความสนใจ เรื่องการสร้างมาตรฐานการพยาบาลมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล และระบุถึงความสำคัญของมาตรฐานการพยาบาลว่าเป็นเอกสิทธิ์ของวิชาชีพ ที่จะร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบแนวคิดหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล เป็นความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่จะต้องร่วมกันสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยงานของตน และร่วมกันพัฒนาการสร้างมาตรฐานการพยาบาล
การสร้างมาตรฐานการพยาบาล ได้มีการริเริ่มสร้างขึ้นในปี ค.ศ.1963 โดยข้อความมาตรฐานการพยาบาลขณะนั้นเพื่อนำไปสู่การประเมินโครงสร้างของหน่วยงานหรือบ่งบอกหลักฐานการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยอย่างกว้างๆเท่านั้น ไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนพอที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ รวมทั้งไม่สามารถประเมินคุณภาพการให้การพยาบาลได้ (กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล, 2539)
ต่อมาในปี ค.ศ 1966 สมาคมพยาบาลอเมริกัน(American Nurses Association) ได้แบ่งกลุ่มพัฒนาการสร้างมาตรฐานการพยาบาลขึ้น (Smeltzen, 1983 อ้างใน ศิริพร ฉัตรโพธิ์ทอง, 2530) ซึ่งมาตรฐานที่สร้างขึ้นเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการประกันคุณภาพการพยาบาล ในปี ค.ศ.1970 มีการจัดตั้งสมาคมโรงพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (American Hospital Association) และกรรมาธิการร่วมเพื่อการรับรองโรงพยาบาล (JOINT Commission on Accreditation of Hospital) ใช้ชื่อย่อว่า JCAH มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพทางการแพทย์และการพยาบาล โดยจะดูผลการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับด้วยวิธีการตรวจสอบย้อนหลังถึงคุณภาพการพยาบาลของหน่วยงานและองค์กร รวมทั้งปรับปรุงเกณฑ์และกระบวนการพยาบาลเพื่อการวัดคุณภาพทางการพยาบาล และในปี ค.ศ.1972 สหรัฐอเมริกาได้มีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของสังคมและมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบมาตรฐานวิชาชีพ(Professional Standard Review Organization) ใช้ชื่อย่อว่า PSRO โดยมีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อตรวจสอบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยว่าเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่
ต่อมาสภาการพยาบาลแห่งชาติ (National League for Nursing: NLN) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกามีหน้าที่วางมาตรฐานการศึกษาและทำการตรวจสอบเพื่อรับรองคุณภาพสถาบันการศึกษาพยาบาล ได้กำหนดมาตรฐานในการบริการพยาบาลไว้ 5 มาตรฐาน (กองการพยาบาล, 2542) คือ
มาตรฐานข้อที่ 1 การให้บริการต้องอยู่ภายใต้กฎหมายวิชาชีพ พยาบาลที่ทำหน้าที่ให้บริการจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ และปฏิบัติหน้าที่โดยวางแผนการมอบหมาย การนิเทศ การประเมินผลการพยาบาลโดยใช้ทักษะในการปฏิบัติงาน
มาตรฐานข้อที่ 2 ในการบริการพยาบาล ฝ่ายการพยาบาลจะต้องเขียนแผน การดำเนินงานของฝ่ายการพยาบาลให้เป็นปัจจุบันเสมอ โดยต้องวิเคราะห์จากโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ตลอดจนกลไกการร่วมมือประสานแผนและการตัดสินใจวินิจฉัยสั่งการ
มาตรฐานข้อที่ 3 นโยบายการบริหารแผนการพยาบาลและคู่มือการปฏิบัติ การพยาบาลจะต้องปรับปรุงอยู่เสมอ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลให้บรรลุบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและเป้าหมายของโครงการ
มาตรฐานข้อที่ 4 บริการที่ให้ควรคำนึงถึงความปลอดภัยโดยมีการวางแผน การพยาบาลตามแผนการรักษาพยาบาลและสามารถนำไปใช้ได้กับทุกคน
มาตรฐานข้อที่ 5 ควรจัดโปรแกรมการฝึกอบรมในการปฏิบัติงานและการ ศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาบุคลากร
ในประเทศไทยเริ่มมีความสนใจเรื่องมาตรฐานการพยาบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2522 โดยการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 6 จัดโดยสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยได้ใช้ชื่อการประชุมครั้งนี้ว่า “คุณภาพการพยาบาล”และการประชุมได้มีกล่าวถึงมาตรฐานการพยาบาลในการประกันคุณภาพการพยาบาล ต่อมาได้มีผู้ให้ความสนใจ เรื่องการสร้างมาตรฐานการพยาบาลมากขึ้น เพื่อปรับปรุงคุณภาพการพยาบาล และระบุถึงความสำคัญของมาตรฐานการพยาบาลว่าเป็นเอกสิทธิ์ของวิชาชีพ ที่จะร่วมกันกำหนดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการกำหนดกรอบแนวคิดหรือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
ดังนั้นการกำหนดมาตรฐานการพยาบาล เป็นความรับผิดชอบของพยาบาลวิชาชีพทุกคนที่จะต้องร่วมกันสร้างเกณฑ์มาตรฐานสำหรับการปฏิบัติงานในหน่วยงานของตน และร่วมกันพัฒนาการสร้างมาตรฐานการพยาบาล
ความคิดเห็น