องค์การเพื่อการเรียนรู้
หนังสือปริทรรศน์
องค์การเพื่อการเรียนรู้
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุรพร
ศุทธรัตน์
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2552
ฐานิกา บุษมงคล
องค์การเพื่อการเรียนรู้นั้น
เป็นความมุ่งหวังขององค์การทางธุรกิจทั้งหลาย ภายใต้ความเชื่อที่ว่า เมื่อก้าวเข้าสู่องค์การเพื่อการเรียนรู้ได้สำเร็จแล้ว
องค์การธุรกิจจะสามารถฟันฝ่าวิกฤตและสามารถอยู่รอดและเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้
ดังเช่นที่แนวความคิดนี้ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ
หนังสือ
องค์การเพื่อการเรียนรู้ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุรพร ศุทธรัตน์ แห่งคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับใช้เป็นหนังสืออ้างอิงประกอบการเรียนการสอนและการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา
และผู้ที่สนใจในการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์การที่ตนปฏิบัติงานอยู่
เพื่อให้ก้าวสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ทั้งยังเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาว่าองค์การของตนเองได้ก้าวเข้าสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สำเร็จแล้วหรือไม่
และยังใช้เป็นแนวทางในการประเมินลักษณะของการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ในเบื้องต้น
หนังสือได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 ส่วน คือ
ส่วนที่
1 บทนำและแนวคิด
ในส่วนนี้ผู้เขียนได้รวบรวมแนวความคิดต่างๆในการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ของนักวิชาการหลายคนซึ่งได้เสนอแนะวิธีการปรับองค์การเพื่อให้เป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ไว้ในหลากหลายแนวทางที่แตกต่างกัน
ได้แก่ Ray Stata, Peter Senge, David A. Garvin, Dave
Ulrich, Joan Kremer Bennett and Michael J. O’Brien, Martha A. Gephart et. Al.,
Swee C. Goh ผู้เขียนได้ยกแนวคิดของนักวิชาการมาพอสังเขปและอธิบายสั้นๆ
อีกทั้งสรุปแนวคิดการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ในรูปแบบตาราง
ทำให้ผู้อ่านมองเห็นแก่นของแต่ละแนวคิดได้อย่างชัดเจน ผู้เขียนได้ขอให้ผู้อ่านทำความเข้าใจความหมายของ
2 คำ คือองค์การเพื่อการเรียนรู้ กับ การเรียนรู้ขององค์การ
ก่อนที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้ต่อไป เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ชัดเจน เนื่องจาก
2 คำนี้มีการใช้สลับกันไปมาตามบทความต่างๆอย่างกว้างขวาง สรุปว่า องค์การเพื่อการเรียนรู้ คือ
องค์การที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องโดยผ่านสมาชิกขององค์การทั้งระดับบุคคลและระดับกลุ่ม
จากทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
รวมทั้งเกิดความได้เปรียบและอยู่รอดในธุรกิจ การเรียนรู้ขององค์การเป็นการตอบคำถามว่าองค์การเรียนรู้ได้อย่างไร
และอธิบายความสำคัญของการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้ต่อธุรกิจในสังคมไทยอีกด้วย
ส่วนที่
2 ปัจจัยการเรียนรู้
ในส่วนที่ 2 นี้
ผู้เขียนได้อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ การแบ่งประเภทการเรียนรู้
ขั้นตอนการเรียนรู้ เครื่องมือการเรียนรู้ ระดับการเรียนรู้ในองค์การ
ความสำคัญของการเรียนรู้ และแหล่งความรู้ขององค์การ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ส่วนที่
3 กระบวนการพัฒนาไปสู่การเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้
ส่วนที่
4 ลักษณะสำคัญของการเป็นองค์การเพื่อการเรียนรู้
ส่วนที่
5 กรณีศึกษา
ความคิดเห็น