เครื่องฟอกไตที่ #ปอ ใช้ คือ เครื่อง CRRT
loading...
จากแถลงการณ์ของคณะแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี แจ้งว่า #ปอ ทฤษฏี มีอาการไตวายเฉียบพลัน และต้องใช้เครื่องฟอกไต หลายๆท่านอาจสงสัย สามารถหาความกระจ่างได้ที่นี่ค่ะเครื่องฟอกไตที่ #ปอ ใช้ คือ เครื่อง CRRT เป็นหนึ่งในวิธีการบำบัดหลักที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยวิกฤตซึ่งมีภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute kidney injury, AKI) เป้าหมายของ CRRT คือการทดแทนการทำงานที่สูญเสียไปของไตให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการขจัดของเหลวออกจากร่างกายอย่างช้าๆ แต่ยังคงสามารถปรับสมดุลในร่างกายได้ แม้ผู้ป่วยจะอยู่ในภาวะไม่คงที่อย่างภาวะช็อกหรือภาวะน้ำเกินอย่างรุนแรง ก็สามารถปรับตัวให้ทนต่อการบำบัดได้ ทั้งผู้ที่มีรูปร่างทั่วๆ ไปหรือมีรูปร่างเล็กก็สามารถรับการรักษาด้วย CRRT ได้ อีกทั้งยังเป็นวิธีการบำบัดที่สามารถปรับแผนการรักษาให้เข้ากับสภาพทางกายของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการในการขจัดของเหลว
หลักการทำงานของ CRRT ในการจัดการของเสีย
การแพร่ผ่าน(Diffusion)
คือวิธีการที่ CRRT ใช้ในการขจัดของเสียที่มีโมเลกุลขนาดเล็กในระหว่างการฟอกเลือด หรือที่เรียกว่าตัวละลาย ซึ่งใน CRRT เลือดจะไหลผ่านท่อกลวงขนาดเล็ก โดยสวนทางกับการไหลของน้ำยาฟอกเลือดที่เรียกว่า dialysate solution (ดูภาพประกอบ) วิธีการนี้ช่วยให้การขจัดของเสียมีประสิทธิภาพสูงสุด โมเลกุลของของเสียจะแพร่จากความเข้มข้นสูงในเลือดไปสู่ความเข้มข้นต่ำกว่าใน dialysate ตลอดกระบวนการฟอกเลือด
การพา (Convection)
หรือบางครั้งเรียกว่า solvent drag ใช้ในการขจัดของเสียทั้งที่มีโมเลกุลขนาดเล็กและใหญ่ โดยอาศัยความแตกต่างของความดันระหว่างเลือดและสารน้ำทดแทน หรือที่เรียกว่า substitution solutions ด้วยการพาของเสียทั้งโมเลกุลขนาดเล็กและขนาดใหญ่เคลื่อนผ่านแผ่นกรอง ขบวนการ solvent drag จะทำให้เกิดการขจัดของเสียออกจากเลือด ยิ่งอัตราการไหลของสารน้ำทดแทนเร็วเท่าไหร่ ปริมาณของเสียก็จะถูกขจัดออกจากเลือดมากยิ่งขึ้น
หลักการทำงานของ CRRT ในการจัดการของเหลว
การกรองแบบ Ultrafiltration
อาศัยความดันของน้ำเลือดที่สูงกว่า (positive pressure) ในการผลักดันให้ของเหลวในน้ำเลือดเคลื่อนผ่านแผ่นกรองไปยังสารน้ำทดแทนที่อยู่อีกด้านหนึ่งของเยื่อซึ่งมีความดันต่ำกว่า (negative pressure) ระดับความดันที่แตกต่างกันส่งผลให้เกิดการขจัดของเหลวออกจากเลือดของผู้ป่วย อัตราของการกรองแบบ Ultrafiltration ขึ้นอยู่กับความดันที่ให้ต่อทั้งภายในและภายนอกเส้นใยของตัวกรอง ในระหว่างการกรองแบบ Ultrafiltration นั้น การขจัดของเสียโดยการนำพาอาจเกิดได้บ้างแต่มีปริมาณเพียงเล็กน้อย
การดูดซับ (Adsorption)
อาจทำให้เกิดข้อจำกัดในการขจัดของเสียบางชนิดออกจากเลือด ชนิดของแผ่นกรองมีผลต่อแนวโน้มและประสิทธิผลของการดูดซับ เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่งอาจทำให้เกิดการอุดตันของแผ่นกรองจนใช้งานต่อไปไม่ได้
ประเภทของ CRRT
CRRT ที่ใช้หลอดเลือดดำเป็นทางเข้าออกของเลือด (venovenous access) มีด้วยกันหลายประเภท ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยจากอาการป่วยของผู้ป่วยและเลือกประเภทของ CRRT ที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของร่างกายที่ทนต่อการรักษา
การเปลี่ยนถ่ายน้ำเลือด (Therapeutic Plasma Exchange)
TPE จะใช้กับผู้ป่วยในรายที่เป็นโรคที่พบไม่บ่อย (rare diseases) ในการเปลี่ยนถ่ายน้ำเลือดนั้น น้ำเลือดจะถูกปั๊มผ่านแผ่นกรองซึ่งน้ำเลือดส่วนใหญ่จะถูกขจัดและแทนที่ด้วยน้ำเลือดแช่แข็งใหม่หรืออัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในน้ำเลือด ด้วยวิธีการนี้สารต่างๆ ที่เป็นพิษต่อร่างกายจะถูกขจัดออกไป
อ้างอิง
CRRT
ความคิดเห็น